การอนุรักษ์พลังงาน

ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

พ.ศ.๒๕๓๕

( และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๐)

สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

 

      เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง อันเป็นภาระแก่ประเทศในการลงทุนเพื่อจัดหาพลังงานทั้งในและนอกประเทศไว้ใช้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว และปัจจุบันการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้มีการผลิตและการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการก่อให้เกิดการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศนั้น ยังไม่สามารถเร่งรัดดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ด้วยเหตุนี้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา เพื่อกำหนดมาตรการในการกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้พลังงาน โดยมีการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน วิธีปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน การกำหนดระดับการใช้พลังงานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้การอุดหนุน ช่วยเหลือในการอนุรักษ์พลังงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพลังงานและกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ หรือผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือวัสดุเพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน ในท้ายที่สุด “ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ ” ก็ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติและได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕

      อย่างไรก็ดี เนื่องจากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ฝ่ายนิติบัญญัติจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพี่อให้สามารถกำกับและส่งเสริมการใช้พลังงานการอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการอนุรักษ์พลังงานให้ทันต่อเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพของการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตลอดจนการมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน การใช้พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแทนพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ตรา “ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ” ขึ้นใช้บังคับ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้นไป

      ในการนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้จัดทำคู่มือและคำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองที่ได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ทั้งนี้เพื่อเจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุม ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฉบับนี้ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติการตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยมีการจัดทำคู่มือและคำอธิบาย แบบกรอกข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งพระราชบัญญัติ และกฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยสามารถ Down Load ได้ดังนี้

  1. คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
  2. คู่มือการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
  3. คู่มือการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน  
  4. คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน (อยู่ระหว่างการปรับปรุง)
  5. รูปแบบรายงานการจัดการพลังงานสำหรับอาคารควบคุม    
  6. รูปแบบรายงานการจัดการพลังงานสำหรับโรงงานควบคุม   
  7. รูปแบบรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของอาคารควบคุม (อยู่ระหว่างการปรับปรุง)
  8. รูปแบบรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุม ( อยู่ระหว่างการปรับปรุง)
  9. ประกาศกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เรื่อง กำหนดแนวทางการปฏิบัติและแบบคำขอผ่อนผันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
  10. แบบกรอกข้อมูลของโรงงานเพื่อการวินิจฉัยการเป็นโรงงานควบคุม  
  11. แบบกรอกข้อมูลของอาคารเพื่อการวินิจฉัยการเป็นอาคารควบคุม  
  12. แบบแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและแบบรับรองผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน  (บพช.๑บพช.๒ และ บพช.๓)
  13. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕)
  14. พระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ.๒๕๓๘
  15. พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ.๒๕๔๐
  16. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๒
  17. กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๒
  18. กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๕๒
  19. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.๒๕๕๒
  20. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพ การให้ความเย็นและค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็นของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งใช้งานในอาคาร พ.ศ.๒๕๕๒
  21. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ.๒๕๕๒
  22. รายชื่อโรงงานควบคุม (ปรับปรุงเดือน พย. 52)
  23. รายชื่ออาคารควบคุม (ปรับปรุงเดือน พย. 52)
  24. คุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ปี 2549