การเลือก Pattern ของ Ceiling Diffuser ที่ติดตั้งใกล้ผนังกระจก
Sheet No. : TR-AC-09 
   February 10  
 

 

จากแบบ Plan Layout ของงานวิศวกรรมระบบปรับอากาศในส่วนการกระจายลม ส่วนใหญ่จะนิยมใช้แบบ Ceiling Diffuser ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส, สีเหลี่ยมผืนผ้า, ทรงกลม ติดตั้งที่ฝ้าเพดาน

Pattern ของการกระจายลมแบบสี่เหลี่ยมจะมี 4 Pattern ตามทิศทางการกระจายลม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบ 4- Way เป็นหลัก แต่ถ้าติดตั้งบริเวณใกล้ผนังกระจกต้องเลือก Pattern ที่มีทิศทางกระจายลมไม่พุ่งตรงไปที่ผนังกระจก มิฉะนั้นขณะใช้งาน (โดยเฉพาะวันที่อากาศภายนอกมีความชื้นสูง) อาจเกิดการ Condensation ที่ด้านนอกผนังกระจกได้ ดังนั้น จึงควรพิจารณาเปลี่ยน Pattern ของทิศทางการกระจายลมเป็นแบบ 3-Way, 2-Way, 1-Way (แล้วแต่ Layout) เพื่อมิให้ลมเย็นปะทะกับผนังกระจกโดยตรง

แต่หากเปลี่ยน Pattern ไม่ได้เนื่องจากเหตุผลใดๆ ก็อาจให้ผู้รับเหมาตัดแผ่นสังกะสีไปปิด Section ด้านที่ไม่ต้องการให้มีลมเย็นออกมา แต่ในการนี้อาจเกิดเสียงดังขึ้นเนื่องจาก Effective Area ของหัวกระจายลมจะลดลง ซึ่งต้องแก้ไขโดยลดความเร็วลมลงตามความต้องการ

 

 
                       การหุ้มฉนวนท่อน้ำ
Sheet No. : TR-AC-08 
   December 09 
 

 

ในการหุ้มฉนวนท่อน้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Chilled Water/Hot Water/Steam Pipe หรืออื่นๆ ผู้ควบคุมงานจะอนุมัติให้ผู้รับเหมาหุ้มฉนวนได้ต่อเมื่อท่อในส่วนนั้นได้ผ่านการทดสอบความดันไปแล้ว แต่เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ผู้ควบคุมงานอาจจะสั่งการให้ผู้รับเหมาปฏิบัติดังนี้ :-

  1. ในกรณีท่อต่อตรง ให้หุ้มฉนวนได้ทันทีที่ประกอบท่อเสร็จ โดยให้เว้นช่วงที่ต้องทำการเชื่อมเท่ากับ 1 Section ของฉนวน (โดยปกติประมาณ 1,200 มม.)
  2. ในบริเวณ Fitting ให้เว้นไว้ก่อนได้
  3. ในบริเวณ Pipe Support ให้ผู้รับเหมาใส่อุปกรณ์รองท่อ (ชนิดที่ได้รับการอนุมัติ) เลย เพื่อจะได้หุ้มฉนวนไปพร้อมกับท่อตรง
  4. เมื่อหุ้มเสร็จแล้ว หากเกรงว่าฉนวนจะเสียหายในภายหลัง (เช่น จากงานปูน ฯลฯ เป็นต้น) ให้หากระดาษหนังสือพิมพ์ หรือผ้าพลาสติกคลุมไว้ก่อน จะได้ไม่เสียเวลาทำความสะอาด หรือแก้ไขในภายหลัง
  5. หลังจากทดสอบความดันผ่านแล้ว จึงให้หุ้มฉนวนส่วนที่เหลือ และหุ้ม Jacket (ถ้ามี) ต่อไป

 

 
                       ข้อห้ามในการทาสีภายในท่อลม
Sheet No. : TR-AC-07 
   September 08 
 


 

การใช้ Flinklote ทาภายในท่อลม

ในการติดตั้งงานท่อลมของระบบปรับอากาศและระบายอากาศบางจุดผู้ใช้งานอาจจะเห็นผิวในของท่อลมผ่านหัวกระจายลม โดยเฉพาะหัวกระจายลมแบบ Ceiling Diffuser, Register, Linear Slot Diffuser ซึ่งมีสีเงินของเนื้อแผ่นเหล็กชุบสังกะสี ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการใช้สีดำพ่นเพื่อไม่ให้เห็นผิวในดังกล่าว แต่บางครั้งผู้รับเหมาก่อสร้างมักง่าย จะใช้ Flinklote ซึ่งหาได้ง่ายและถูกกว่ามาใช้แทนสีพ่น การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ผู้ควบคุมงานต้องไม่อนุมัติ เพราะการใช้ Flinklote จะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่ :-

  1. มีกลิ่นเหม็น ซึ่งต้องใช้งานเป็นเวลานานมากกว่ากลิ่นเหม็นจะลดลง
  2. Flinklote เป็นสารติดไฟ และเกิดสารพิษ (Toxic) ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ดังนั้น การใช้ Flinklote สำหรับงานใดๆ ในอาคารจึงเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด

 

 

 
                       ข้อควรรู้ในการติดตั้ง AHU ในฝ้าเพดาน
Sheet No. : TR-AC-06 
   August 08 
 


การแขวนเครื่องเป่าลมเย็นขนาดใหญ่ในฝ้าเพดาน

ในการออกแบบงานระบบปรับอากาศบางโครงการจำเป็นต้องกำหนดให้แขวนเครื่องเป่าลมเย็นขนาดใหญ่ (Air Handling Unit : AHU) ไว้ในฝ้าเพดาน ดังรูป สิ่งที่ผู้ควบคุมงานควรพิจารณาก่อนอนุมัติให้ผู้รับเหมาดำเนินการติดตั้ง มีดังนี้

  1. ชนิดของแผ่นฝ้าเพดาน (T-bar หรือฉาบเรียบ)
  2. วิธีการติดตั้งโครงเคร่าฝ้าเพดาน
  3. ขนาดและตำแหน่งของช่องเปิดบริการ (Access Door)
  4. ลักษณะงานการบำรุงรักษาที่ต้องเข้าถึง ได้แก่
    • การถอดแผงกรองอากาศ (Air Filter) เพื่อทำความสะอาด
    • การปรับรอบของพัดลม และการถอดมอเตอร์
    • การถอดฝาเครื่องเพื่อทำความสะอาดแผงคอล์ยเย็น (Cooling Coil), ถาดน้ำทิ้ง และวาล์วต่างๆ (ทั้ง DX Coil และ Chilled Water Coil)
    • การเปลี่ยนเครื่องเป่าลมเย็น
    • ฯลฯ

นอกจากนี้มีข้อเสนอแนะให้พิจารณาดังนี้

  • ให้ใส่แผงกรองอากาศ (Air Filter) ไว้ที่ Return Air Grille โดยให้ใช้ Return Air Grille แบบที่สามารถถอดเกร็ดได้โดยไม่ต้องถอดหัวจ่าย
  • หากฝ้าเพดานเป็นชนิด T-bar, ไม่ควรใช้หัวจ่ายลมกลับขนาดใหญ่ชิ้นเดียว เพราะอาจมีความยุ่งยากในการเสริมโครงเคร่าฝ้า ควรใช้หัวจ่ายลมกลับหลายชิ้น โดยให้แต่ละชิ้นสามารถติดตั้งบนช่องฝ้าเพดานแต่ละช่องได้
  • ไม่ควรแขวนเครื่องเป่าลมเย็นไว้สูงมากจนเกินไป เพราะเวลาขึ้นไปทำการบำรุงรักษาจะยุ่งยากมาก แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรติดตั้ง Platform บริเวณด้านที่ต้องขึ้นไป Service และอาจติดตั้งดวงโคมเล็กๆ ไว้เพื่อความสะดวก
  • ควรทำตัวอย่าง (Mock up) และทดลองขึ้นไปทำการบำรุงรักษาจำนวน 1 เครื่อง ก่อนดำเนินการที่เหลือ เพราะหากต้องทำการแก้ไขจะได้ไม่ยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายรื้อโดยไม่จำเป็น
  • เครื่องเป่าลมเย็นขนาดใหญ่บางยี่ห้อสามารถใช้ติดตั้งได้ทั้งแบบ Floor Mounted และ Ceiling Mounted แต่ส่วนใหญ่ ในสายการผลิต เครื่องดังกล่าวจะประกอบมาเพื่อนำไปติดตั้งแบบ Floor Mounted หากต้องการนำไปติดตั้งแบบ Ceiling Mounted อาจต้องทำการปรับตำแหน่งของท่อน้ำเย็นเข้า - ออก ของแผงคอล์ยเย็น, ถาดน้ำทิ้ง รวมทั้ง รางใส่แผงกรองอากาศ ดังนั้น หากต้องนำไปติดตั้งแบบ Ceiling Mounted ตามที่แสดงในแบบ ผู้ควบคุมงานควรสั่งการให้ผู้รับเหมา ถอดฝาเครื่องออกมาตรวจสอบ และปรับตำแหน่ง (ถ้าจำเป็น) ให้ถูกต้องก่อนนำไปแขวน เพราะถ้าแขวนไปแล้ว ต้องถอดลงมาปรับตำแหน่ง จะเสียเวลาและยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่ายิ่งหากต่อท่อน้ำเย็น หรือท่อสารทำความเย็นไปแล้ว
 

 

 
                       ข้อควรรู้ในการติดตั้งพัดลมแบบ Centrifugal Fan
Sheet No. : TR-AC-05 
   August 07 
 

 

  1. พัดลมแบบ Centrifugal Fan แบ่ง Class ตามการใช้งานได้ 4 Class ดังนี้

    • Class I ใช้ได้กับ Total Static Pressure (TSP)
    • Class II ใช้ได้กับ Total Static Pressure (TSP)
    • Class III ใช้ได้กับ Total Static Pressure (TSP)
    • Class IV ใช้ได้กับ Total Static Pressure (TSP)
    <= 3 3/4
    <= 6 3/4
    <= 12 1/4
    > 12 1/4
    in. wg. (นิ้วน้ำ)
    in. wg. (นิ้วน้ำ)
    in. wg. (นิ้วน้ำ)
    in. wg. (นิ้วน้ำ)

  2. ใบพัดลม แบบ Centrifugal Fan โดยทั่วไปจะมี 3 แบบ ดังนี้

    • ใบพัดลมแบบ Forward Curve Blade (FC) เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการปริมาณลมมากแต่ Total Static Pressure (TSP) ต่ำขณะใช้งาน รอบของพัดลมจะมีค่าต่ำกว่าแบบอื่น ข้อดี คือ ราคาถูก ทนทาน เพราะความสึกหรอน้อย เนื่องจากใช้งานที่รอบพัดลมต่ำ ทำให้สามารถใช้เพลาและตลับลูกปืน (Bearing) เล็กลง ส่วนข้อเสีย คือ หากเลือกใช้พัดลมจากค่า Operating Point ใน Fan Curve ไม่ดี อาจทำให้เกิดอาการลมพัดไม่สม่ำเสมอ (Surge หรือ Paralleling) และที่มอเตอร์อาจเกิดการ Overload ได้ หากค่า Total Static Pressure (TSP) ลดลงมาก
    • ใบพัดลมแบบ Backward Curve Blade (BI) เหมาะกับการใช้งานที่มีค่า Total Static Pressure (TSP) สูง ข้อดี คือ พัดลมแบบนี้จะมีประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) สูง และมอเตอร์จะไม่เกิดการ Overload ถึงแม้ว่าค่า Total Static Pressure จะลดลง ส่วนข้อเสีย คือ ราคาแพงเนื่องจากต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง เพลาและตลับลูกปืน (Bearing) มีขนาดใหญ่ขึ้น
    • ใบพัดลมแบบ Air Foil (AF) จะมีลักษณะคล้ายกับแบบ Backward Curve (BC) แต่ดัดแปลงให้ใบเป็น 2 ชั้น คล้ายปีกเครื่องบิน ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่ต้องการปริมาณลมมาก และ Total Static Pressure (TSP) สูง เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบอื่นๆ แต่ก็มีราคาแพงขึ้นมากเช่นกัน



      Centrifugal Fan
      แบบ Forward Curve Blade (FC)

      Centrifugal Fan
      แบบ Backward Curve Blade (BI)

      Centrifugal Fan
      แบบ Air Foil (AF)



  3. ลักษณะการใช้งานของพัดลมแบบ Centrifugal Fan แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
    • SWSI (Single Width - Single Inlet) คือ ลักษณะของพัดลมที่มีโกร่งพัดลมเป็นชั้นเดียว และทางเข้าของลมจะเข้าเพียงทางเดียว


      พัดลม Centrifugal Fan
      ลักษณะ SWSI

      โกร่งพัดลมชั้นเดียว
      (แบบ Forward Curve)

      โกร่งพัดลมชั้นเดียว
      (แบบ Backward Curve)



    • DWDI (Double Width - Double Inlet) คือ ลักษณะของพัดลมเป็น 2 ชิ้นติดกัน และทางเข้าของลมจะเข้าทั้งสองข้าง เหมาะกับงานที่มีปริมาณลมมาก และพัดลมอยู่ในห้องพัดลม (Fan Room) ที่ไม่ต้องการต่อกล่อง Plenum เข้าทางด้านดูด (โดยใช้ห้องพัดลมเป็น Plenum)

    พัดลม Centrifugal Fan
    ลักษณะ DWDI

    โกร่งพัดลมเป็น 2 ชั้น
    (แบบ Forward Curve)

    โกร่งพัดลมเป็น 2 ชั้น
    (แบบ Backward Curve)

     




  4. เมื่อผู้รับเหมานำพัดลมไปยังหน่วยงานต้องเช็คสภาพความเรียบร้อย และความถูกต้องของพัดลม รวมทั้งชนิดของมอเตอร์ (TEFC, IP No., Etc.) ก่อนอนุมัติให้นำไปติดตั้ง และควรคลุมด้วยผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกให้มิดชิดก่อนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือเปรอะเปื้อน อีกทั้งป้องกันไม่ให้แมว, หนู, แมลง และสัตว์มีชีวิตอื่นๆ เข้าไปอาศัยในโกร่งพัดลมด้วย โดยเฉพาะพัดลมที่จะนำไปติดตั้งบนหลังคาโครงการ


    ลักษณะการหมุนแบบตามเข็มนาฬิกา
    (Clockwise)

    ลักษณะการหมุนทวนตามเข็มนาฬิกา
    (Counter Clock)

     

     


    ตำแหน่งการจัดวางมอเตอร์ (Motor Position)



  5. ก่อนที่ผู้รับเหมาจะสั่งซื้อพัดลมตามรุ่น (Model) ที่ได้รับการอนุมัติแล้วควรให้ผู้รับเหมาตรวจสอบสถานที่ติดตั้ง และ/หรือ ลักษณะการติดตั้ง (Floor Mount หรือ Ceiling Mount) ก่อน เพื่อจะได้ระบุลักษณะการหมุนของพัดลม และทิศทางปากพัดลมด้านส่ง (Direction of Rotation & Discharge หรือ Fan Arrangement) รวมทั้งตำแหน่งการจัดวางมอเตอร์ (Motor Position) ที่เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งเพื่อจะได้ให้โรงงานผู้ผลิตทำการประกอบมาให้เรียบร้อยจากโรงงานผู้ผลิตเลย เพราะหากต้องทำการดัดแปลง (Modify) หน้างานจะค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลา และอาจทำให้พัดลมเสียหาย หรือเกิดการบุบสลายได้


    การปรับความตึงของสายพาน (Belt Tension) ควรกดลงไปได้ประมาณ 20 - 30 มม.
    (ระหว่าง Pulley ทั้งสองตัว)

    การตั้ง Alignment ระหว่าง Pulley ทั้งสองตัว



  6. หากพัดลมที่ติดตั้งยังไม่ได้ใช้งานอีกนาน (เป็นเดือนขึ้นไป) ควรใช้น้ำมันหรือจาระบีฉาบผิวเพลาโดยรอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดสนิม และควรถอดสายพานออกก่อน เพื่อรักษาอายุของสายพานก่อนใช้งานจริง โดยควรเขียนเบอร์พัดลมไว้ที่เทปกระดาษ และพันไว้กับสายพานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเมื่อจะนำไปใช้งาน เมื่อต้องการใส่สายพานกลับคืน อย่าลืมสั่งการให้ผู้รับเหมาทำการ Alignment มู่เล่ย์ (Pulley) และปรับความตึงของสายพานให้ถูกต้องก่อนให้งานจริง (ดูรูป)

  7. ก่อนติดตั้ง Junction Box ของไฟฟ้ากำลัง ให้ตรวจสอบตำแหน่ง Terminal Box ของมอเตอร์ด้วย โดยควรให้อยู่ด้านเดียวกันมิฉะนั้นจะต้องเดินสายไฟฟ้าพร้อมท่อร้อยสายไฟฟ้าอย่างอ่อน (Flexible Conduit) เข้ามอเตอร์ยาวเกินไป และไม่สวยงาม นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบจำนวนของสายไฟฟ้าให้ถูกต้องกับชนิดของ Starter และ/หรือ ระบบไฟฟ้ากำลังที่ใช้ด้วย

  8. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมแบบแขวนใต้ Slab ที่ไม่มีฝ้า ควรต้องตรวจสอบขนาดพัดลมว่ามีขนาดใหญ่มากหรือไม่ หากมีขนาดใหญ่มากควรจัดให้ตำแหน่งพัดลมอยู่ริมห้อง การจัดตำแหน่งพัดลมที่มีขนาดใหญ่อยู่กลางห้อง และอาจมีผู้คนปฏิบัติงานอยู่ในห้องนั้นโดยเฉพาะใต้ตำแหน่งพัดลมอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากกลัวพัดลมหล่นลงมา ถึงแม้ว่าจะติดตั้งแข็งแรงก็ตาม


    Disconnect Switch แบบกันน้ำ

    Disconnect Switch แบบทั่วไป



  9. ในกรณีที่แขวนพัดลมที่มีระยะห่างจาก Starter ของมอเตอร์ค่อนข้างไกลให้ติดตั้ง Disconnect Switch ใกล้พัดลมด้วย เพื่อป้องกันอันตรายในขณะที่ช่างกำลังซ่อมหรือบำรุงรักษา

  10. isconnect Switch ควรเป็นแบบ Non-Fuse และชนิดที่ใช้ต้องเหมาะสมกับบริเวณที่ติดตั้ง ซึ่งอาจอยู่ภายในอาคาร (ใช้แบบทั่วไป) หรืออยู่ภายนอกอาคาร (ใช้แบบกันน้ำหรือ Weatherproof)

  11. ในกรณีที่ชุด Starter เป็นแบบ Y -    (Star - Delta) การใช้ Disconnect Switch แบบ 6 poles จะค่อนข้างหาอุปกรณ์ยากและราคาแพง อาจใช้วิธีการตัดระบบ Control จากชุด Starter โดยใช้สวิทซ์ฉุกเฉินแบบหัวเห็ดติดตั้งอยู่ใกล้ตัวพัดลมก็ได้

  12. หากรายละเอียดประกอบแบบ (Specification) มิได้กำหนดให้มี Disconnect Switch ใดๆ ที่บริเวณติดตั้งพัดลมถึงแม้ว่าตำแหน่งพัดลมอยู่ไกลจากชุด Starter มากก็ตาม ผู้ควบคุมงานควรดูรายละเอียดของ Circuit Breaker ที่ใช้พัดลมดังกล่าวในตู้ MCC ( Motor Control Center) ว่าเป็นแบบ Pad Lock หรือไม่? หากเป็นแบบ Pad Lock ก็อาจไม่จำเป็นต้องมี Disconnect Switch ก็ได้ แต่ถ้ามิได้กำหนดให้ Circuit Breaker เป็นแบบ Pad Lock ควรแจ้งให้ผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการทราบเพื่อออกเอกสารงานเพิ่ม Disconnect Switch ให้กับผู้รับเหมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับช่างขณะที่ทำการบำรุงรักษาพัดลม และเวลาผู้รับเหมาส่งมอบงานอย่าลืมให้ซื้อกุญแจมาคล้องที่ Pad Lock ด้วย

  13. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมในฝ้า ควรต้องจัดช่วงบริการ (Access Door) อยู่ด้านข้างและด้านเดียวกันกับมอเตอร์ โดยที่ช่างสามารถเอื้อมมือเข้าไปทำงานได้สะดวก

  14. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมโดยไม่มีท่อลมมาต่อจะต้องติดตั้ง Wire Mesh Guard (ทำด้วยลวดกรงไก่) ที่ปากพัดลมด้านที่ไม่ต่อท่อลมเพื่อป้องกันอันตราย

  15. ในกรณีที่พัดลมติดตั้งภายนอกอาคารหรือบนหลังคาจะต้องใช้มอเตอร์ที่เป็น Weatherproof ด้วย (IP 54 ขึ้นไป)

  16. ก่อนทำการติดตั้งพัดลม ควรหมุนพัดลมด้วยมือประมาณ 3 - 4 รอบ เพื่อตรวจสอบดูว่าใบพัดติดขัดหรือ Bolts & Nuts ทุกตัวขันแน่นหรือไม่ นอกจากนี้ควรเช็คทิศทางการหมุนของใบพัด โดยใช้ไฟฟ้าชั่วคราว และสังเกตการหมุนพัดลมให้ถูกต้องเมื่อเทียบกับสติ๊กเกอร์ของโรงงานผู้ผลิตที่ติดอยู่ที่ตัวถังพัดลมเพื่อแสดงทิศทางการหมุน หากทำการตรวจสอบดังกล่าวแล้วพบว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นจะได้แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนทำการติดตั้งจริง เนื่องจากหากพบความบกพร่องหลังจากการติดตั้งจะแก้ไขได้ยาก

  17. ก่อนนำไปติดตั้ง ต้องตรวจสอบความเรียบร้อยสายอัดจาระบีและหัวอัดจาระบี (Grease Fitting) สำหรับตลับลูกปืนที่ติดตั้ง อยู่ที่ตัวถังพัดลม หากชำรุดเสียหายจะได้แก้ไขให้เรียบร้อยก่อน และควรอัดจาระบีเพื่อไล่จาระบีเก่าออกให้หมด ชนิดของจาระบี (Grease) ควรใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการทำงานด้วย การอัดจาระบีไม่ควรอัดมากจนกระทั่งล้นออกมาเปรอะเปื้อน ควรเช็ดส่วนที่ล้นออกให้หมดก่อนใช้งานจริง


     

    Ceiling mount

    Floor mount

    Ceiling mount

    Floor mount

    Rubber - In - Shear (RIS)
    Vibration Isolator

    Spring
    Vibration Isolator



  18. การติดตั้งพัดลมไม่ว่าจะตั้งบนพื้น (Floor mount) หรือแขวนกับพื้น Slab (Ceiling mount) ต้องมี Vibration Isolator แบบขยาย (Rubber - In - Shear : RIS) หรือแบบสปริงเสมอ ควรตรวจสอบรายละเอียดประกอบแบบ (Specification) ด้วยว่าให้ใช้ Vibration Isolator แบบใด

  19. หากต้องทำการติดตั้งพัดลมแขวนในแนวนอนและมีท่อลมต่อหัวท้ายไปยังห้องที่อยู่ข้างๆ ควรตรวจสอบระดับของอีกห้องที่จะติดตั้งท่อลมไปด้วย เพราะจะได้จัดระดับความสูงของพัดลมและท่อลมให้ถูกต้อง


    Flexible Connector (แบบไม่ลามไฟ)



  20. การต่อท่อลมจากพัดลมจะต้องมี Flexible Connector (ผ้าใบแบบไม่ลามไฟ) ติดตั้งที่ปากพัดลมด้านส่ง (Discharge) โดยใช้หน้าแปลนท่อลมต่อเข้ากับพัดลม และมีปะเก็นกันลมรั่วด้วย Flexible Connector ให้ใช้แบบความกว้าง 8 นิ้ว และเมื่อติดตั้งแล้วให้ย่นเหลือ 4 นิ้วเสมอ ส่วนด้านดูดจะต้องต่อกล่อง Plenum แบบถอดได้ (Removable) แล้วค่อยต่อท่อลมโดยมี Flexible Connector ติดตั้งระหว่างท่อลมกับกล่อง Plenum เสมอ

  21. ถ้าพัดลมที่ติดตั้งเป็นแบบ Fresh Air Fan อย่าลืมติดตั้ง Insect Screen และแผง Filter ไว้ที่ Fresh Air Louver (แบบกันน้ำฝนได้) ด้วย โดยให้ทำเป็นกล่องและมีรางสำหรับสอด Insect Screen และแผง Filter และสามารถดึงออกมาทำความสะอาดได้สะดวกจากช่องด้านใดด้านหนึ่งของกล่องที่มีแผ่นปิดล็อคได้ หากบริเวณดังกล่าวมีแผ่นฝ้าอยู่ด้วย จะต้องทำ Access Door หรือช่องบริการสำหรับเข้าไปถอดแผ่น Insect Screen และแผง Filter ด้วย

  22. ในกรณีที่ต้องต่อสัญญาณไปที่ระบบ BAS เพื่อ Monitor สถานะการทำงาน (Status) ของพัดลม ควรใช้ Air Flow Switch เป็น Sensor จะถูกต้องแม่นยำกว่าใช้ Auxiliary Contact จากชุด Starter เพราะหากขณะใช้งานสายพานเกิดขาดขึ้นมาแต่ Magnetic Contact ของชุด Starter ไม่ Trip ระบบ BAS ก็ไม่สามารถ Monitor สถานะการทำงานของพัดลม (Status) ได้อย่างถูกต้อง

  23. สายไฟฟ้ากำลัง (ในแต่ละ Phase) และสายไฟฟ้าควบคุมต้องแยก Code สีให้ต่างกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานของรายละเอียดประกอบแบบของโครงการ

  24. พัดลมที่ดูดอากาศที่มีความชื้นหรือไอน้ำมัน (จากครัว) จะต้องมีรู Drain พร้อม Valve ที่ระดับต่ำสุดของโกร่งพัดลม เพื่อสามารถระบายน้ำหรือน้ำมันออกไปทิ้งได้สะดวกโดยทั่วไป ผู้ผลิตมักจะใส่ Plug ไว้ ควรสั่งการให้ผู้รับเหมาเปลี่ยนเป็น Valve พร้อม Cap ปิดไว้อีกชั้นหนึ่ง

  25. ต้องใช้ Pulley แบบชนิดปรับรอบได้ (Adjustable Pitch) ที่เพลาของมอเตอร์ เนื่องจากค่า Total Static Pressure (TSP) ที่ออกแบบไว้อาจมีค่าแตกต่างกว่าที่ใช้งานจริงมาก แต่ไม่ควรใช้ Pulley แบบนี้กับมอเตอร์ที่มีแรงม้าตั้งแต่ 7.5 แรงม้าขึ้นไป เพราะจะมีราคาแพงมาก และปรับค่อนข้างยาก

  26. โดยทั่วไปการกำหนดความเร็วของลมที่ออกจากปากพัดลมแบบ Forward Curve Blade (FC) ควรกำหนดตาม Total Static Pressure (TSP) ดังนี้



    1/8

    1/4

    3/8

    1/2

    5/8

    3/4

    7/8

    1

    1 1/4

    1 1/2


    800

    1,000

    1,100

    1,200

    1,300

    1,400

    1,500

    1,600

    1,700

    1,800



  27. แต่ถ้าเป็นพัดลมขนาดใหญ่แบบ Backward Curve Blade (BI) หรือแบบ Air Foil การกำหนดความเร็วของลมต้องมีค่าต่ำ หากไม่ต้องการให้เกิดเสียงดัง ดังน



    1/2

    3/4

    1

    1 1/2

    2

    2 1/2

    3

    4

    6

    8

    10

    12


    800

    1,000

    1, 200

    1, 400

    1, 600

    1, 800

    2, 000

    2, 300

    2, 800

    3, 200

    3,600

    4,000



  28. ฝาครอบสายพาน (Belt Guard) ต้องมีช่องให้ใช้เครื่องวัดรอบ (Tachometer) วัดความเร็วรอบของพัดลม และมอเตอร์ได้โดยไม่ต้องถอดฝาครอบออก ไม่ควรใช้ฝาครอบแบบผ่าซีก เพราะอาจจะไม่มีช่องวัดความเร็วรอบดังกล่าว

  29. หากจำเป็นต้องติดตั้งพัดลม 2 ตัวขึ้นไป โดยใช้ Plenum ร่วม อย่าลืมติดตั้ง Gravity Shutter ที่ปากลมส่งของพัดลมแต่ละตัวด้วย เพื่อป้องกันลมย้อนกลับ

  30. หากต้องการติดตั้งพัดลมที่มีผนังทึบ ต้องให้มีระยะห่างระหว่างพัดลมกับผนังไม่น้อยกว่า 1 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด แต่ถ้ามีพัดลมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไประยะห่างระหว่างพัดลมกับผนัง และระหว่างพัดลมกับพัดลมต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า และ 3/4 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดตามลำดับ

  31. พัดลมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปต่อกับท่อลมเดียวกันต้องเดินท่อลมตรงจากปากพัดลม แต่ละตัวไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง ใบพัดจึงหักมุมมาต่อร่วมกันได้ โดยมีมุมหักไม่เกิน 30 องศา

  32. หากการติดตั้งในข้อ (31 ) ดังกล่าวข้างต้นมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่สามารถต่อท่อลมโค้งบริเวณปากพัดลมได้ ให้แก้ปัญหาโดยให้ต่อเข้ากล่อง Plenum และกำหนด Criteria การติดตั้งดังนี้
    1. ความเร็วลมส่งที่ไม่เกิน 1,500 FPM กล่อง Plenum ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดตามลำดับ
    2. ความเร็วลมส่งที่ไม่เกิน 3,500 FPM กล่อง Plenum ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด
    3. พื้นที่หน้าตัดของ Plenum ต้องไม่น้อยกว่า 4 เท่า ของพื้นที่ปากพัดลม

  33. หากต้องระบายลมที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน เช่น การระบายลมจากห้อง Battery ฯลฯ พัดลมที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ทนต่อการผุกร่อน (Chemical Proof)

  34. หลังจากบริเวณติดตั้งพัดลมทำการก่อสร้าง ฉาบปูน ทาสีเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบงานติดตั้งพัดลมขั้นสุดท้าย โดยต้องตรวจสีของตัวพัดลม, มอเตอร์ และท่อ หากสกปรกหรือสีกระเทาะ ให้ทำความสะอาดหรือซ่อมแซมก่อนรับมอบงานจากรู้รับเหมา
 
                       ข้อควรรู้ในการติดตั้ง In -Line Fan
Sheet No. : TR-AC-04 
   August 07 
 

 

  1. In - Line Fan โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • มอเตอร์อยู่ด้านนอก เหมาะสำหรับการระบายอากาศที่ค่อนข้างสกปรกหรือมีอุณหภูมิสูง เช่น การระบายอากาศจากห้องครัว หรือใช้ในกรณีความเร็วของพัดลมไม่เท่ากับความเร็วของมอเตอร์ สามารถปรับรอบได้ (เป็นแบบ Belt Drive ) และจะต้องติดตั้ง Belt Guard ด้วย
    • มอเตอร์อยู่ด้านใน เหมาะสำหรับการระบายอากาศจากพื้นที่ทั่วไป หรือมีอุณหภูมิไม่สูงมากเพื่อจะได้เป็นการระบายความร้อนของมอเตอร์ด้วย โดยมีความเร็วของพัดลมเท่ากับความเร็วของมอเตอร์ (เป็นแบบ Direct Drive)

      In - Line Fan แบบมอเตอร์อยู่ด้านนอก
      (Belt Drive)

      In - Line Fan แบบมอเตอร์อยู่ด้านใน
      (Direct Drive)

     

  2. เมื่อผู้รับเหมานำพัดลมไปยังหน่วยงานต้องเช็คสภาพความเรียบร้อย และความถูกต้องของพัดลม รวมทั้งชนิดของมอเตอร์ (TEFC, IP No., Etc.) ก่อนอนุมัติให้นำไปติดตั้ง และควรคลุมด้วยผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกให้มิดชิดก่อนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือเปรอะเปื้อน

    การปรับความตึงของสายพาน (Belt Tension) ควรกดลงไปได้ประมาณ 20 - 30 มม.
    (ระหว่าง Pulley ทั้งสองตัว)

    การตั้ง Alignment ระหว่าง Pulley ทั้งสองตัว



  3. หากพัดลมที่ติดตั้งยังไม่ได้ใช้งานอีกนาน (เป็นเดือนขึ้นไป) ควรใช้น้ำมันหรือจาระบีฉาบผิวเพลาโดยรอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดสนิม และควรถอดสายพานออกก่อน เพื่อรักษาอายุของสายพานก่อนใช้งานจริง (แบบ Belt Drive) โดยควรเขียนเบอร์พัดลมไว้ที่เทปกระดาษ และพันไว้กับสายพานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเมื่อจะนำไปใช้งาน เมื่อต้องการใส่สายพานกลับคืน อย่าลืมสั่งการให้ผู้รับเหมาทำการ Alignment มู่เล่ย์ (Pulley) และปรับความตึงของสายพานให้ถูกต้องก่อนให้งานจริง (ดูรูป)

  4. ก่อนติดตั้ง Junction Box ของไฟฟ้ากำลัง ให้ตรวจสอบตำแหน่ง Terminal Box ของมอเตอร์ด้วย โดยควรให้อยู่ด้านเดียวกันมิฉะนั้นจะต้องเดินสายไฟฟ้าพร้อมท่อร้อยสายไฟฟ้าอย่างอ่อน (Flexible Conduit) เข้ามอเตอร์ยาวเกินไป และไม่สวยงาม นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบจำนวนของสายไฟฟ้าให้ถูกต้องกับชนิดของ Starter และ/หรือ ระบบไฟฟ้ากำลังที่ใช้ด้วย

  5. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมแบบแขวนใต้ Slab ที่ไม่มีฝ้า ควรต้องตรวจสอบขนาดพัดลมว่ามีขนาดใหญ่มากหรือไม่ หากมีขนาดใหญ่มากควรจัดให้ตำแหน่งพัดลมอยู่ริมห้อง การจัดตำแหน่งพัดลมที่มีขนาดใหญ่อยู่กลางห้อง และอาจมีผู้คนปฏิบัติงานอยู่ในห้องนั้นโดยเฉพาะใต้ตำแหน่งพัดลมอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากกลัวพัดลมหล่นลงมา ถึงแม้ว่าจะติดตั้งแข็งแรงก็ตาม


    Disconnect Switch แบบกันน้ำ

    Disconnect Switch แบบทั่วไป



  6. ในกรณีที่แขวนพัดลมที่มีระยะห่างจาก Starter ของมอเตอร์ค่อนข้างไกลให้ติดตั้ง Disconnect Switch ใกล้พัดลมด้วย เพื่อป้องกันอันตรายในขณะที่ช่างกำลังซ่อมหรือบำรุงรักษา

  7. Disconnect Switch ควรเป็นแบบ Non-Fuse และชนิดที่ใช้ต้องเหมาะสมกับบริเวณที่ติดตั้ง ซึ่งอาจอยู่ภายในอาคาร (ใช้แบบทั่วไป) หรืออยู่ภายนอกอาคาร (ใช้แบบกันน้ำหรือ Weatherproof)

  8. ในกรณีที่ชุด Starter เป็นแบบ Y -      (Star - Delta) การใช้ Disconnect Switch แบบ 6 poles จะค่อนข้างหาอุปกรณ์ยากและราคาแพง อาจใช้วิธีการตัดระบบ Control จากชุด Starter โดยใช้สวิทซ์ฉุกเฉินแบบหัวเห็ดติดตั้งอยู่ใกล้ตัวพัดลมก็ได้

  9. หากรายละเอียดประกอบแบบ (Specification) มิได้กำหนดให้มี Disconnect Switch ใดๆ ที่บริเวณติดตั้งพัดลมถึงแม้ว่าตำแหน่งพัดลมอยู่ไกลจากชุด Starter มากก็ตาม ผู้ควบคุมงานควรดูรายละเอียดของ Circuit Breaker ที่ใช้พัดลมดังกล่าวในตู้ MCC ( Motor Control Center) ว่าเป็นแบบ Pad Lock หรือไม่? หากเป็นแบบ Pad Lock ก็อาจไม่จำเป็นต้องมี Disconnect Switch ก็ได้ แต่ถ้ามิได้กำหนดให้ Circuit Breaker เป็นแบบ Pad Lock ควรแจ้งให้ผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการทราบเพื่อออกเอกสารงานเพิ่ม Disconnect Switch ให้กับผู้รับเหมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับช่างขณะที่ทำการบำรุงรักษาพัดลม และเวลาผู้รับเหมาส่งมอบงานอย่าลืมให้ซื้อกุญแจมาคล้องที่ Pad Lock ด้วย

  10. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมในฝ้า ควรต้องจัดช่องบริการ (Access Door) อยู่ด้านข้างและด้านเดียวกันกับมอเตอร์ โดยที่ช่างสามารถเอื้อมมือเข้าไปทำงานได้สะดวก



  11. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมในห้องพัดลม (Fan Room) และการติดตั้งในลักษณะเป็น Vertical Mounting โดยมีด้านดูดลอยจากพื้นห้องและไม่มีท่อลม จะต้องตรวจเช็คระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างพื้นห้องกับปากพัดลมจากโรงงานผู้ผลิตด้วย หากระยะห่างดังกล่าวน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเสียงดังมากขณะทำงาน โดยทั่วไปต้องมีระยะห่างประมาณ 1-2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางพัดลม (ดูรูป) นอกจากนี้ควรตรวจสอบชนิดของตลับลูกปืน (Bearing) ด้วยว่าเป็นแบบ Thrust Bearing หรือไม่ เพราะหากเป็นแบบ Ball Bearing จะทำให้เพลาพัดลมเสียหายในภายหลัง และจะทำให้เกิดเสียงดังมาก เนื่องจากศูนย์ถ่วงของเพลาพัดลมผิดเพี้ยนไป พัดลมบางยี่ห้อมีข้อแนะนำห้ามติดตั้งในลักษณะ Vertical Mounting ดังนั้น จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนสั่งซื้อโดยผู้รับเหมา แต่ถ้าติดตั้งได้ ปากพัดลมด้านดูดอย่าลืมใส่ Inlet Bell และตาข่ายทำด้วยลวดกรงไก่ด้วย

    Inlet Bell ( Bell mouth)


  12. ในกรณีที่ติดตั้งพัดลมโดยไม่มีท่อลมมาต่อจะต้องติดตั้ง Wire Mesh Guard (ทำด้วยลวดกรงไก่) ที่ปากพัดลมด้านที่ไม่ต่อท่อลมเพื่อป้องกันอันตราย นอกจากนี้ปากพัดลมทางด้านดูดต้องใส่ Inlet Bell (Bell Mouth) เพื่อลมจะได้มีความสม่ำเสมอไม่วูบวาบหรือกระชาก

  13. ในกรณีที่พัดลมติดตั้งภายนอกอาคารหรือบนหลังคาจะต้องใช้มอเตอร์ที่เป็น Weatherproof ด้วย (IP 54 ขึ้นไป)

  14. ก่อนทำการติดตั้งพัดลม ควรหมุนพัดลมด้วยมือประมาณ 3 - 4 รอบ เพื่อตรวจสอบดูว่าใบพัดติดขัดหรือ Bolts & Nuts ทุกตัวขันแน่นหรือไม่ นอกจากนี้ควรเช็คทิศทางการหมุนของใบพัด โดยใช้ไฟฟ้าชั่วคราว และสังเกตการหมุนพัดลมให้ถูกต้องเมื่อเทียบกับสติ๊กเกอร์ของโรงงานผู้ผลิตที่ติดอยู่ที่ตัวถังพัดลมเพื่อแสดงทิศทางการหมุน หากทำการตรวจสอบดังกล่าวแล้วพบว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นจะได้แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนทำการติดตั้งจริง เนื่องจากหากพบความบกพร่องหลังจากการติดตั้งจะแก้ไขได้ยากเพราะส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่บนที่สูง และ/หรือมีท่อลมต่อหัวท้าย

  15. ก่อนนำไปติดตั้ง ต้องตรวจสอบความเรียบร้อยสายอัดจาระบีและหัวอัดจาระบี (Grease Fitting) สำหรับตลับลูกปืนที่ติดตั้ง อยู่ที่ตัวถังพัดลม หากชำรุดเสียหายจะได้แก้ไขให้เรียบร้อยก่อน และควรอัดจาระบีเพื่อไล่จาระบีเก่าออกให้หมด ชนิดของจาระบี (Grease) ควรใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการทำงานด้วย การอัดจาระบีไม่ควรอัดมากจนกระทั่งล้นออกมาเปรอะเปื้อน ควรเช็ดส่วนที่ล้นออกให้หมดก่อนใช้งานจริง

    Rubber - In- Shear (RIS)
    Vibration Isolator

    Spring Vibration Isolator


  16. พัดลมที่แขวนกับพื้น Slab ต้องมี Vibration Isolator แบบยาง (Rubber - In - Shear : RIS) หรือแบบสปริงเสมอควรตรวจสอบจากรายละเอียดประกอบแบบ (Specification) ด้วยว่าให้ใช้ Vibration Isolator แบบใด

  17. หากต้องทำการติดตั้งพัดลมแขวนในแนวนอนและมีท่อลมต่อหัวท้ายไปยังห้องที่อยู่ข้างๆ ควรตรวจสอบระดับของอีกห้องที่จะติดตั้งท่อลมไปด้วย เพราะจะได้จัดระดับความสูงของพัดลมและท่อลมให้ถูกต้อง

    Flexible Connector (แบบไม่ลามไฟ)


  18. การต่อท่อลมจากพัดลมจะต้องมี Flexible Connector (ผ้าใบแบบไม่ลามไฟ) ติดตั้งที่ปากพัดลมทั้งสองด้าน โดยใช้หน้าแปลนท่อลมต่อเข้ากับพัดลม และมีปะเก็นกันลมรั่วด้วย Flexible Connector ให้ใช้แบบความกว้าง 8 นิ้ว และเมื่อติดตั้งแล้วให้ย่นเหลือ 4 นิ้วเสมอ

  19. ถ้าพัดลมที่ติดตั้งเป็นแบบ Fresh Air Fan อย่าลืมติดตั้ง Insect Screen และแผง Filter ไว้ที่ Fresh Air Louver (แบบกันน้ำฝนได้) ด้วย โดยให้ทำเป็นกล่องและมีรางสำหรับสอด Insect Screen และแผง Filter และสามารถดึงออกมาทำความสะอาดได้สะดวกจากช่องด้านใดด้านหนึ่งของกล่องที่มีแผ่นปิดล็อคได้ หากบริเวณดังกล่าวมีแผ่นฝ้าอยู่ด้วย จะต้องทำ Access Door หรือช่องบริการสำหรับเข้าไปถอดแผ่น Insect Screen และแผง Filter ด้วย

  20. ในกรณีที่ต้องต่อสัญญาณไปที่ระบบ BAS เพื่อ Monitor สถานะการทำงาน (Status) ของพัดลม ถ้าเป็นพัดลมแบบ Direct Drive สามารถใช้ Auxiliary Contact จากชุด Starter ได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมแบบ Belt Drive ควรใช้ Air Flow Switch เป็น Sensor จะถูกต้องแม่นยำมากกว่าเพราะหากใช้ Auxiliary Contact เหมือนพัดลมแบบ Direct Drive ในขณะใช้งานถ้าสายพานเกิดขาดขึ้นมาแต่ Magnetic Contact ของชุด Starter ไม่ Trip ระบบ BAS ก็ไม่สามารถ Monitor สถานะการทำงานของพัดลม (Status) ได้อย่างถูกต้อง

  21. สายไฟฟ้ากำลัง (ในแต่ละ Phase) และสายไฟฟ้าควบคุมต้องแยก Code สีให้ต่างกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานของรายละเอียดประกอบแบบของโครงการ

     

     


  22. หากทางด้านดูด และ/หรือ ด้านส่งของพัดลม ต้องทำการติดตั้งท่อลมในรูปแบบต่างๆกัน ควรให้เป็นไปตามรูปด้านบนเพื่อป้องกันมิให้เกิดเสียงดัง และต้องมีช่อง Inspection Hole ที่ท่อลมทั้ง 2 ด้าน เพื่อตรวจสอบและทำความสะอาดใบพัด, มอเตอร์หรือสายพาน ในกรณีเป็นแบบ Belt Drive

  23. หากต้องระบายลมที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน เช่น การระบายลมจากห้อง Battery ฯลฯ พัดลมที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ทนต่อการผุกร่อน (Chemical Proof)

  24. หลังจากบริเวณติดตั้งพัดลมทำการก่อสร้าง ฉาบปูน ทาสีเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบงานติดตั้งพัดลมขั้นสุดท้าย โดยต้องตรวจสีของตัวพัดลม, มอเตอร์ และท่อ หากสกปรกหรือสีกระเทาะ ให้ทำความสะอาดหรือซ่อมแซมก่อนรับมอบงานจากรู้รับเหมา
 
                       ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง Grilles and Diffusers ดย คุณธุรนัย รังสีเทพปฏิมา
Sheet No. : TR-AC-03
   June 07 
 

 

  1. พยายามหลีกเลี่ยงการติด Diffusers หรือ Grilles ที่ใต้ท้องหรือด้านข้างท่อลมประธานโดยตรง เพราะจะมีเสียงลมผ่านท่อดังออกมาข้างนอกและไม่มีทางทำให้เสียงลดลงได้
  2. อย่าติดตั้ง Light Troffer (หัวจ่ายลมแบบ Slot และดวงโคมแบบ Fluorescent อยู่ในตัวเดียวกัน) ที่ท่อลมหรือโซนเดียวกับ Diffusers หรือ Registers เนื่องจากที่ Troffer มีความเสียดทานมากกว่าซึ่งจะทำให้ปริมาณลมไปจ่ายที่ Diffusers หรือ Registers มากกว่าที่กำหนดทำให้เกิดเสียงดัง

    Light Troffer

  3. พยายามหลีกเลี่ยงการติด Diffusers และ Registers ที่ท่อเดียวกัน ด้วยเหตุที่ Diffusers และ Registers ที่ท่อเดียวกัน ด้วยเหตุที่ Diffusers มีความเสียดทานมากกว่าจะทำให้ปริมาณลมไปจ่ายที่ Registers มากกว่าที่กำหนดทำให้เกิดเสียงดัง
  4. อย่าใช้ Diffusers หรือ Registers ที่จ่ายลมไปที่หลอดไฟชนิดติดตั้งที่ฝ้าหรือจ่ายลมเลียดไปใกล้ฝ้า จะทำให้ฝ้ามีฝุ่นเกาะและอุณหภูมิภายในห้องไม่เท่ากันทุกจุด

    การติดตั้ง Register

  5. หากเป็นไปได้ให้ติด Extractor แบบปรับแต่งมุมดักลมได้ที่ท่อแยกเข้า Register ทุกแห่งเพื่อให้ลมเข้าเต็มท่อ
  6. Register ลมกลับควรติดอยู่บริเวณที่ไกลจากหัวจ่ายลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณมุมห้องที่ลมจ่ายไปไม่ถึง
  7. อย่าใช้หัวจ่ายแบบ Low Induction และระยะ Throw สั้นกับห้องที่ต้องการลมหมุนเวียนมาก จะทำให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนไม่ดี
  8. ควรเลือกหัวจ่ายแบบที่มีกลไกปรับแต่งการปิด-เปิดของแดมเปอร์ที่เข้าถึงได้ง่าย Diffusers ที่สามารถถอดไส้กรองออกได้โดยไม่ต้องถอดกรอบ เป็นที่นิยมกันมากซึ่งง่ายต่อการปรับแต่งแดมเปอร์ (Damper) ที่ซ่อนอยู่ภายใน ความยุ่งยากมักจะเกิดกับ Register ซึ่งมีแดมเปอร์ (Damper) ซ่อนอยู่ภายในและกลไกหรืออุปกรณ์ปรับแต่งแดมเปอร์ติดอยู่ไม่ตรงกับช่องเปิดที่หน้า Grille ทำให้สอดอุปกรณ์เข้าไปปรับไม่ได้
  9. หากเป็นไปได้ท่อแยกที่ต่อเข้า Diffusers ที่ใต้เมนท่อลมควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดหัวจ่าย เพื่อให้ลมแผ่กระจายเต็มท่อก่อนถึงหัวจ่ายลม หรือใส่ Plenum ที่หัวจ่ายแบบ Diffuser ก็ได้
  10. หัวลมกลับรวมทั้งท่อลมที่ต่อเข้ากล่องลมกลับซึ่งใช้ร่วมกันควรเลือกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หากไม่ใช้พัดลมดูดกลับ
  11. ถ้าไม่จำเป็นพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ลมกลับจากห้องหนึ่งผ่านเข้าอีกห้องหนึ่งไปยังหัวลมกลับ ห้องที่ติดหัวลมกลับ ความเร็วลมจะสูงบางครั้งรู้สึกหนาว
  12. การใช้หัวลมกลับติดที่ประตู (Door Louvers) กับห้องที่จ่ายลมโดยใช้ความดันต่ำเป็น Laminar Flow เช่นใช้ฝ้าเจาะรูจ่ายลม จะใช้ไม่ได้ผลดี
  13. หัวจ่ายที่มีทั้งการจ่ายลมและรับลมกลับในหัวเดียวกันไม่ควรใช้เพราะจะเกิด Short Circuit ลมที่จ่ายหมุนวนเข้าช่องลมกลับทำให้ลมหมุนเวียนภายในห้องลดน้อยลง
  14. ปริมาณลมที่จ่ายออกจาก Diffusers แต่ละหัวควรเป็นดังนี้

    ความสูงของห้อง, (FT)

    8

    9

    10

    12

    ปริมาณลมที่จ่ายแต่ละทิศทาง, (CFM)

    150

    250

    400

    600


    สำหรับความสูงของห้องที่สูงกว่า 12 ฟุต ให้เพิ่มลม 200 CFM ต่อความสูง 1 ฟุต เช่น หัวจ่ายแบบ 4 ทิศทาง, ห้องสูง 9 ฟุต แต่ละหัวจ่ายจะจ่ายลมได้ไม่เกิน
    250 x 4 = 1 ,000 CFM เป็นต้น

    Grilles and Diffusers

  15. ความเร็วลมที่ผ่านเข้าหัวลมกลับควรอยู่ในช่วง 300 - 500 ฟุตต่อนาที Effective Area ของหัวลมกลับทั่วไปประมาณ 75 เปอร์เซนต์ของขนาด Grille
  16. ความเร็วลมของ Diffusers และ Registers ไม่ควรเกิน 600 - 700 ฟุตต่อนาที ทั้งนี้ต้องเช็ค Throw และความดังของเสียง (NC) ควบคู่กันด้วย
  17. Linear Diffuser ที่มีขนาดช่อง Slot 1/2 นิ้ว ปริมาณลมที่จ่ายออกไม่ควรเกินกว่า 30 CFM ต่อ Slot ต่อฟุต เช่น ใช้ 4 Slot ยาว 10 ฟุต จะจ่ายลมได้เท่ากับ
    30 x 4 x 10 = 1,200 CFM

    ตัวอย่าง Linear Slot Diffuser ขนาด 4 Slots

  18. ท่อแยกที่ต่อเข้ากล่องลมที่ Linear Diffusers ควรห่างกันประมาณ 4 ฟุต และมีแดมเปอร์ไว้ปรับปริมาณลมทุกท่อ

    กล่อง Plenum สำหรับหัวจ่ายลมแบบ
    Linear Slot Diffusers


  19. Door Louvers ควรเป็นแบบใบหยักเพื่อป้องกันการมองลอดเข้าไปในห้อง และความเร็วลมที่ผ่านไม่เกิน 300 ฟุตต่อนาทีจะดีมาก
  20. Louvers ที่ติดผนังนอกอาคารต้องมีมุมใบเอียง 40 - 50 องศา กับแนวระดับ และมีชายยื่นลงมากันฝนได้กับต้องมีตะแกรงไม่เป็นสนิม และมีขนาดช่องกว้าง 1/2 นิ้วติดไว้เพื่อป้องกันกระดาษ และใบไม้ไม่ให้ปลิวเข้ามาในท่อลม Filter และ Volume Damper ก็ควรจะมีที่ท่อลมบริสุทธิ์ ส่วนท่อระบายอากาศไม่ต้องมี
  21. Louvers ของลมบริสุทธิ์และระบายอากาศควรอยู่ห่างกัน เพื่อป้องกันลมที่ระบายออกไหลวนไปเข้า Louvers ของลมบริสุทธิ์

    ตัวอย่าง Air Louver


  22. ในกรณีที่พัดลมระบายอากาศติดตั้งอยู่ใกล้ช่องระบายอากาศสู่ภายนอกอาคาร อาจใช้ Gravity Damper ติดแทน Louver ได้และต้องเป็นแบบป้องกันฝนสาดได้ด้วย ด้านในอาคารต้องติดตะแกรงป้องกันแมลง (Insect Screen) ไว้ด้วย พร้อมทั้งมี Access Door ที่ท่อลมไว้ตรวจสอบตะแกรง
  23. Door Louver หรือ Undercut ใต้ประตูจะต้องเลือกขนาดให้เหมาะสม ความเร็วลมไม่ควรเกิน 300 ฟุตต่อนาที หากเลือกขนาดเล็กเกินไปความดันในห้องจะมากกว่าภายนอกทำให้ปิด-เปิดประตูลำบาก
  24. ประตูเข้าห้องเครื่องส่งลมเย็นต้องเป็นแบบเปิดออก เพราะว่าเวลาเดินเครื่องความดันภายในจะน้อยกว่าภายนอกทำให้ประตูปิดอยู่ตลอดเวลา
  25. Grille และ Register แบบติดผนังถ้าตั้งใบตรง (0 องศา) ระยะ Throw จะไกล และ Drop น้อย หากตั้งใบเอน (22 องศา) ทำให้เป่าลมกระจายได้ระยะ Throw สั้นแต่ Drop จะมาก
  26. การที่ติด Register ในระดับสูงใกล้ฝ้าจะเกิดปัญหาฝุ่นเกาะฝ้าในแนวจ่ายลม ดังนั้นหัวจ่ายควรติดในระดับต่ำจากแนวฝ้าประมาณ 20 ซม. สำหรับฝ้าต่ำ และปรับแนวลมให้กดลงจากแนวระดับนิดหน่อย หัวลมระบายอากาศในบาร์, ไนท์คลับ, ครัว, ห้องน้ำ และห้องกินข้าวควรติดใกล้ฝ้าเพื่อดูดอากาศร้อน, กลิ่น และควันซึ่งลอยขึ้นสูง
  27. แนวทางในการเลือกใช้หัวจ่ายลม

    ชนิดหัวจ่ายลม

    CFM / ตร. ฟุตพื้นที่ห้อง

    Max Air Change / HR
    (Based on 10 FT, Ceiling)

    Grille

    3 - 6

    7

    Linear Slot Diffuser

    4 - 10

    12

    ผนังเจาะรู

    5 - 15

    18

    Diffuser

    5 - 25

    30

    ฝ้าเจาะรู

    5 - 50

    60


    Register แบบต่างๆ

 
             ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งท่อน้ำเย็น และท่อน้ำทิ้ง โดย คุณธุรนัย รังสีเทพปฏิมา
Sheet No. : TR-AC-02 
   June 07 
 
  1. การเก็บและวางท่อก่อนนำไปใช้งานต้องไม่วางราบบนพื้นดินเพราะจะทำให้ท่อสกปรก และเป็นสนิมได้ง่าย ตามปกติท่อเหล็กดำที่ส่งมาจากโรงงานผู้ผลิตสำหรับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว มักมีฝาครอบพลาสติกปิดหัวท้ายมาให้ด้วย เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปค้างและปากท่อบิ่น ส่วนท่อขนาดใหญ่มีแหวนเหล็กปิดหัวท้ายป้องกันปากท่อบิ่น หากเป็นท่อเหล็กชุบสังกะสีก็มีข้อต่อ (Socket) ขันเกลียวติดไว้ที่ปลายท่อ 1 ตัว ต้องหมุนข้อต่อเข้าไปให้เกือบสุดเกลียวเพื่อป้องกันเกลียวบิดเวลาถูกกระแทกหรือขณะขนส่ง วิธีเก็บท่อที่ดีต้องวางบนขาตั้ง (Rack) สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. โดยมีจุดรับน้ำหนักท่อห่างกันไม่เกิน 4 เมตร และมีระยะหัวท้ายท่อจากจุดรับแรงห่างเท่ากันเพื่อความสะดวกเวลานำท่อไปใช้งานและท่อไม่คดงอ
  2. ก่อนนำท่อเข้าที่ติดตั้งควรไล่สิ่งสกปรกในท่อออกให้หมด และยกท่อขึ้นส่องดูตลอดความยาวว่าไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ภายใน ที่พบส่วนมากจะเป็นท่อนไม้ที่ใช้สอดปลายท่อเวลาขนย้ายไปติดตั้งแล้วไม่ได้เอาออกหรือไม้หักค้างอยู่ข้างใน เมื่อติดตั้งเสร็จปรากฏว่าน้ำไหลในท่อน้อยกว่าที่ควรจะเป็นต้องเสียเวลาตรวจท่อทั้งระบบนานกว่าจะพบสาเหตุ เรื่องนี้จะโทษใครดี?
  3. ท่อน้ำเย็น (Chilled Water Pipe) และท่อน้ำหล่อเย็น (Condenser Pipe) ที่ติดตั้งในแนวนอนต้องติดตั้งให้ได้ระดับไม่มีการลาดเอียงเพื่อป้องกันอากาศขังภายในทำให้น้ำในท่อไหลน้อยลง
  4. ท่อน้ำทิ้งจากเครื่องส่งลมเย็นต้องมี Trap และลาดเอียงไปทางปลายทางไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว ต่อความยาว 10 ฟุต หรือ Slope ประมาณ 1 ต่อ 100 หาก Slope น้อยกว่า 1 ต่อ 100 ให้เลือกขนาดท่อใหญ่ขึ้นถัดไป ตามตารางดังต่อไปนี้

    ขนาดท่อน้ำทิ้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว)

    ขนาดเครื่องส่งลมเย็น ตันความเย็น

    ท่อแนวนอน

    ท่อแนวตั้ง

    3/4

    0 - 2

    0 - 3

    1

    2 - 5

    3 - 8

    1- 1/4

    5 -30

    8 - 50

    1 - 1/2

    30 - 50

    50 - 75

    2

    50 - 170

    75 - 250

    3

    170 - 300

    250 - 400

    4

    300 - 430

    400 - 600

    5

    430 - 600

    600 - 900


  5. ความเร็วของน้ำในท่อของระบบปรับอากาศต้องไม่ช้าเกินไปจนทำให้ไม่สามารถพาตะกอนไปได้ และไม่เร็วเกินไปซึ่งจะทำให้ท่อสึกกร่อน ทั่วๆ ไปความเร็วจะอยู่ในช่วง 2-8 ฟุตต่อวินาที (0.6-2.5 เมตรต่อวินาที) ขนาดท่อหาได้ตามราตางต่อไปนี้

    ปริมาณน้ำไหลในท่อ
    (ยูเอส แกลลอนต่อนาที) (US. GPM)

    ขนาดท่อ
    เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว)

    0 - 2

    1/2

    2 - 5

    3/4

    5 - 10

    1

    10 - 20

    1 1/4

    20 - 30

    1 1/2

    30 - 50

    2

    50 - 90

    3

    90 - 150

    4

    150 - 300

    4

    300 - 500

    5

    500 - 750

    6

    750- 1,300

    8

    1,300 - 2,000

    10

    2,000 - 3,000

    12

    3,000 - 3,500

    14

    3,500 - 4,200

    16

    4,200 - 5,000

    18

    5,000 - 6,000

    20


  6. ท่อน้ำและสายไฟฟ้าที่เดินคร่อมกันต้องให้สายไฟอยู่เหนือท่อน้ำเสมอ ถ้าจำเป็นต้องเดินท่อน้ำเหนือสายไฟควรมีรางใต้ท่อป้องกันน้ำหยดลงบนสายไฟ และข้อต่อท่อในแนวตรง (Socket) ต้องอยู่ห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  7. พยายามหลีกเลี่ยงการเดินท่อน้ำผ่านห้องไฟฟ้า และเหนือตู้ไฟเพราะว่าถ้าท่อรั่วหรือน้ำหยดลงบนอุปกรณ์ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือตู้ไฟระเบิดได้ ในกรณีที่ไม่มีทางเลี่ยงต้องทำรางรองน้ำใต้ท่อโดยให้ปลายรางทั้งสองด้านยื่นเลยออกไปจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใต้ราง
  8. การแขวน, ยึด ทำขารับน้ำหนักท่อ (Hanger, Support) ต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน, สถานที่ติดตั้ง, น้ำหนักของท่อและน้ำในท่อรวมทั้งอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนท่อเป็นหลักในการพิจารณาเลือกชนิดและขนาดของ Hanger, Support โดยทั่วไปการแขวนท่อกับ Slab คอนกรีตมักจะใช้ Expansion Bolt เป็นตัวยึดเหล็กแขวนกับพื้นหรือคานคอนกรีต การใช้ปืนยิงตะปูยึด (Power Actuated Pin) ไม่เป็นที่นิยมเพราะรับน้ำหนักได้น้อย และคอนกรีตอาจแตกร้าวขณะใช้ปืนยิง ระยะห่างระหว่างเหล็กแขวนท่อใช้ประมาณ 3 เมตร หรือดูตารางในแบบ หรือรายละเอียดประกอบแบบเป็นเกณฑ์เพื่อไม่ให้ท่อขนาดเล็กตกท้องช้าง (SAG) และเหล็กกับพื้นคอนกรีตรับน้ำหนักต่อจุด (Point Load) มากเกินไปสำหรับท่อขนาดใหญ่ จุดยึดแขวนท่อต้องไม่ตรงกับข้อต่อ หากมีวาล์วหรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากบนท่อต้องเพิ่มจุดยึดแขวนท่อใกล้อุปกรณ์นั้นๆ ทั้ง 2 ด้าน

    Expansion Bolt

  9. จุดยึดท่อ (Clamp) ในแนวดิ่ง (Vertical Riser) ไม่ควรอยู่สูงกว่า 1.50 เมตรจากพื้นของแต่ละชั้นเพื่อให้ช่างทำงานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้นั่งร้านหรือบันได
  10. Support ของท่อแนวนอนระดับพื้นมักจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก นอกจากท่อขนาดใหญ่ เช่นท่อบริเวณ Cooling Tower ที่เดินบนหลังคา ปัญหาที่คำนึงถึงก็คือการแอ่นของท่อเนื่องจากน้ำหนักท่อเอง และน้ำในท่อระยะ Support จะแตกต่างกันไปตามขนาดท่อดังนี้

    ขนาดท่อ
    เส้นผ่านศูนย์กลาง (นิ้ว)

    ระยะห่างระหว่างจุดรับน้ำหนัก

    ท่อแนวนอน (เมตร)

    ท่อแนวดิ่ง (เมตร)

    1/2

    1.8

    2.1

    3/4

    2.1

    2.4

    1

    2.4

    2.7

    1 - 1/4

    2.4

    2.7

    1 - 1/2

    2.7

    3.0

    2

    3.0

    3.3

    2 - 1/2

    3.3

    3.6

    3

    3.6

    4.0

    4

    4.3

    4.6

    5

    4.9

    5.2

    6

    5.2

    5.5

    8

    5.5

    5.8

    10

    5.5

    6.0

    12

    5.5

    6.4

    14

    5.5

    6.7

    16

    5.5

    7.0

    18

    5.5

    7.3

    20

    5.5

    7.6

    24

    5.5

    7.9

    30

    5.5

    8.2


  11. ท่อน้ำควรมีรหัส, Pipe Color Code , ป้ายชื่อติดไว้ในลักษณะที่เห็นได้ง่าย ทิศทางการไหลของน้ำในท่อก็เป็นสิ่งจำเป็น ส่วนมากมักใช้ลูกศรขนาดพอเหมาะกับท่อ ติดหรือพ่นสีบนท่อ สีที่ใช้จะต้องเห็นเด่นชัด

     
    Pipe Color Code และ Flow Direction Arrow
    Insulation & Pipe Color Code

  12. ท่อระดับพื้นที่หักงอขึ้น Riser ต้องมี Support รับน้ำหนักท่อตรงข้องอ ถ้าหากจำเป็นต้องป้องกันแรงกระแทก (Shock Load) ของน้ำด้วยก็ต้องมีค้ำยันที่แข็งแรงในแนวที่คาดว่าจะเกิดแรงกระแทก โดยทั่วไปใช้เหล็กแผ่นเชื่อมหรือทำแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กยันในแนว 45 องศากับโค้งด้านนอกของข้องอ
  13. จุดต่ำสุดของ Riser ทุกท่อควรมี Gate Valve ขนาด 3/4" Ø หรือ 1” Ø เอาไว้สำหรับระบายน้ำใน Riser หรือถ่ายตะกอนออก อย่าลืมต่อท่อสั้นๆ ประมาณ 20 ซม. จากวาล์วและมี Cap ปิดปลายจะทำให้ต่อท่อออกไปทิ้งได้สะดวก
  14. การเดินท่อจากแนวนอนลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าโดยดูจากทิศทางการไหลของน้ำ อากาศจะขังอยู่ที่ข้องอ จำเป็นต้องติด Automatic Air Vent บนท่อที่ระดับสูงส่วนที่ใกล้ข้องอ โดยมี Gate Valve ที่ท่อก่อนเข้า Automatic Air Vent เอาไว้ปิดเวลาถอดซ่อมและต้องต่อท่อจาก Air Vent ไปที่จะระบายน้ำด้วยเพราะอาจมีน้ำไหลออกมากรณีที่มีสิ่งสกปรกค้างที่ลูกลอย
  15. ท่อน้ำที่ต่อเข้าเครื่องจักรหลักซึ่งมีการสั่นสะเทือนต้องต่อด้วย Flexible Connection เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของเครื่องส่งถ่ายไปให้ท่อ เช่น เครื่องสูบน้ำ และเครื่องทำน้ำเย็น ถ้าเครื่องมีสปริงรองฐานก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ Flexible Connection เพราะตัวเครื่องจะเคลื่อนตัวมากกว่าแบบอื่น การติดตั้ง Flexible Connection ให้ใส่ในส่วนท่อตรงที่ใกล้เครื่องมากที่สุดทั้งทางด้านเข้าและด้านออก ปกติกำหนดให้ใช้ Flexible Connection แบบสเตนเลสถักยาวไม่น้อยกว่า 4 เท่าของขนาดเส้าผ่านศูนย์กลางท่อ 4 นิ้วลงมา ส่วนท่อขนาดตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไปต้องยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดท่อ ในบางกรณีก็ใช้ชนิดทำด้วยยางความยาวจะสั้นลงไปอีก การเลือกใช้แบบทำด้วยยางต้องคำนึงถึงความดันของน้ำในท่อด้วย หากความดันสูงเกินไปยางจะปริแตกหรือรั่วซึม ทั้งนี้ ขณะที่ระบบปรับอากาศทำงานอยู่ Gate Valve ดังกล่าวควรอยู่ในตำแหน่งเปิด และปิด Cap ให้แน่นสนิท หากต้องการจะถ่ายตะกอนออกจะต้องปิด Gate Valve ก่อนจึงถอด Cap และต่อท่อสายอ่อนไปที่จุดระบายน้ำทิ้งแล้วจึงทำการเปิด Gate Valve อีกครั้งหนึ่ง หลังจากถ่ายตะกอนออกหมดแล้วก่อนเพิ่มน้ำให้ปิด Cap ให้สนิท และเปิด Gate Valve ไว้ดังเดิมเพื่อมิให้ Valve Disc ชำรุดก่อนกำหนดเนื่องจากรับน้ำหนักน้ำใน Riser ตลอดเวลา
  16. ท่อน้ำที่ต่อในแนวตรงหากยาวมากและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้ท่อยืดหดต้องใส่ Expansion Joint เนื่องจากอุณหภูมิขณะติดตั้งท่อและขณะใช้งานไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อที่เดินบนหลังคาไม่มี Insulation หุ้มเช่นท่อน้ำหล่อเย็นบริเวณ Cooling Tower ถูกแดดเผาบ้าง ถูกฝนบ้าง และอุณหภูมิกลางคืนก็เย็นกว่ากลางวันท่อจะยืดหดตลอดวัน หากไม่ใส่ Expansion Joint ก็อาจทำให้ท่อแตกหักหรือพื้นอาคารแตกร้าวได้ การยืดหดตัวของท่อโลหะมีค่าประมาณดังนี้

    ชนิดท่อ

    การยืดหดตัวตามยาวของท่อ
    (นิ้ว/100 ฟุต/100 องศา F)

    ท่อเหล็ก

    0.8

    ท่อทองแดง

    1.1

    ท่อสเตนเลส

    1.1



    Expansion Joint

  17. ท่อ Branch ที่แยกออกจากท่อประธานให้ใช้สามตา (Tee) มาตรฐานเท่านั้น นอกจากในห้องเครื่องสูบน้ำ, เครื่องทำน้ำเย็น และใน Trench ท่อเมนตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปใช้วิธีเจาะท่อในแนว 45 องศาก็ได้ ส่วน Weld-O-Let จะใช้ได้กับท่อเมนตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปและท่อ Branch ที่ต่อออกไปต้องมีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของขนาดท่อประธาน

    การจัดท่อน้ำบริเวณเครื่องสูบน้ำ

  18. ท่อในแนวตรงจะต้องติดตั้งให้มีจุดต่อน้อยที่สุด ห้ามใช้เศษท่อต่อกัน ความยาวท่อมาตรฐานเท่ากับ 6 เมตร หรือ 20 ฟุต พยายามใช้ให้หมดเส้นหรือเหลือเศษน้อยที่สุด ทั้งนี้อยู่ที่การจัดระเบียบการใช้ท่ออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งลงได้มาก
  19. พยายามอย่าให้น้ำหนักท่อและอุปกรณ์กดลงบนเครื่องจักรทุกชนิด ซึ่งอาจทำให้ข้อต่อบิด, แตก, รั่วซึม หรือเครื่องเสียหายได้ ต้องพิจารณาตำแหน่ง Hanger, Support ให้เหมาะสมและแข็งแรง
  20. ไม่ควรติดตั้งวาล์วใกล้ Elbow และ Tee หากวาล์วอยู่ทางด้านเหนือน้ำโดยดูจาก Tee เป็นหลักจะทำให้น้ำไหลเข้า Branch ไม่สะดวก หรือถ้าอยู่ด้านใต้น้ำ แรงดันที่หน้าวาล์วจะต่างกันมากทำให้บิดและติดขัดได้ หากมีที่พอให้ติดตั้งวาล์วห่างจาก Elbow และ Tee ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของขนาดท่อ โดยเฉพาะทางด้านใต้น้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปั่นป่วนของน้ำ (Turbulence) ลดลงก่อนถึงวาล์วทำให้การทำงานของวาล์วดีขึ้น
  21. Elbow ที่ใช้ควรใช้แบบ Long Radius Elbow เพื่อให้เกิด Pressure Drop น้อยที่สุดเป็นการประหยัดพลังงานของเครื่องสูบน้ำ

    การใช้ Long Radius Elbow

  22. ตรงรอยต่อของท่อเชื่อมต้องปาดหน้ารอยต่อในแนว 30-45 องศา เพื่อให้ลวดเชื่อมหลอมลงอุดรอยเชื่อมได้มาก ทำให้แข็งแรง รอยเชื่อมต้องนูนออกมาจากผิวท่อโดยรอบ การเชื่อมที่ขาดตอนก่อนเชื่อมใหม่ต้องเคาะ Slag ออกให้หมดแล้วขัดด้วยแปรงลวดให้สะอาดทุกครั้ง
  23. ข้อต่อ, Fitting และวาล์ว ควรอยู่ห่างจาก Sleeve พอสมควรเพื่อให้การทำงานขณะติดตั้ง และถอดเปลี่ยนในภายหลังทำได้สะดวก เมื่อทำ Riser ทะลุผ่านพื้นไม่ควรให้ข้อต่อและวาล์วอยู่สูงเกิน 1.5 เมตร จากพื้นห้องซึ่งช่างสามารถยืนทำงานหรือปิด-เปิดวาล์วได้โดยไม่ต้องใช้บันได
  24. เกลียวท่อมี 2 แบบ คือ แบบธรรมดาเกลียวเสมอกันหมด และแบบ Taper โดยที่ยอดเกลียวจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กไปหาใหญ่โดยดูจากปลายท่อ การตีเกลียวแบบ Taper นั้นทำได้ยากกว่าแบบธรรมดาแต่ก็แน่นกว่า หากเกลียวบนท่อเป็นแบบใด เกลียวที่ Fitting และวาล์วก็ควรจะเป็นแบบเดียวกัน มิฉะนั้นความแข็งแรงและแน่นหนาจะลดลง
  25. การตีเกลียวบนท่อต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยทั่วไปตีเกลียวยาวไม่เกิน 1 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดท่อเกลียวที่ยาวพอเหมาะต้องขันแน่นแล้วเหลือเกลียวไว้ 1-2 เกลียว การทำเกลียวยาวเกินไปอาจทำให้ช่างขันท่อเข้าไปลึกมากจนบางครั้งชนหน้าวาล์วจนปิด-เปิดวาล์วไม่ได้ ถ้าเกลียวสั้นไปก็ไม่แน่นเท่าที่ควร น้ำอาจรั่วซึมออกมาได้
  26. เกลียวท่อมี 2 ระบบคือ เกลียวอังกฤษ และอเมริกา ซึ่งมีจำนวนเกลียวต่อควายาว 1 นิ้วไม่เท่ากัน ทั่วๆ ไปที่ใช้กันอยู่เป็นเกลียวอังกฤษ ซึ่งถี่กว่าของอเมริกา ข้อต่อที่เครื่องที่มาจากอเมริการเกลียวจะหยาบต้องทำ Adaptor คือ Fitting ข้างหนึ่งเป็นเกลียวอังกฤษ และอีกด้านหนึ่งเป็นเกลียวอเมริกา เกลียวมาตรฐานมีดังนี้

    ขนาดท่อ
    (นิ้ว)

    จำนวนเกลียวต่อความยาว 1 นิ้ว

    อังกฤษ

    อเมริกา

    1/2

    14

    14

    3/4

    14

    14

    1

    11

    11.5

    1 - 1/4

    11

    11.5

    1 - 1/2

    11

    11.5

    2

    11

    11.5

    2 - 1/2

    11

    8

    3

    11

    8

    4

    11

    8

    5

    11

    8

    6

    11

    8

    8

    10

    8

    10

    10

    8

    12

    8

    8


  27. ข้อลดของท่อแบบเกลียวห้ามใช้ Bushing เด็ดขาด ต้องใช้ Reducer มาตรฐานเท่านั้น
  28. ในกรณีที่ใช้ข้อลดเบี้ยว (Eccentric Reducer) กับระบบปรับอากาศ ต้องให้ด้านหลังท่อเสมอกัน ด้านลดขนาดอยู่ด้านล่างทั้งท่อ Supply และ Return ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อากาศยังขังอยู่ที่ Reducer
  29. วาล์วและ Fitting แบบเกลียวเมื่อถอดออกต้องเปลี่ยน เทปพันท่อ, เชือก และ Sealant แล้วพันใหม่ มิฉะนั้นการขันเข้าที่เดิมจะไม่แน่นทำให้รั่วซึมได้
  30. หน้าแปลนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 3 แบบ คือ
    • Raised Face ใช้ท่อต่อชนหน้าแปลนแล้วเชื่อม แบบนี้จะต้องตัดท่อให้ได้ฉากพอดี มิฉะนั้นหน้าแปลนจะประกบกันไม่สนิท
    • Slip-On ใช้ท่อสอดเข้าหน้าแปลนแล้วเชื่อมด้านนอก-ใน ทำให้แข็งแรงขึ้นและท่อไม่จำเป็นต้องตัดให้ได้ฉากพอดี
    • Welding Neck หน้าแปลนแบบนี้มีความแข็งแรงมาก ใช้กับความดันสูงๆ ได้โดยที่หน้าแปลนจะมีคอหนาเรียวต่อออกมาบรรจบท่อแล้วเชื่อม
  31. ข้อลดที่ Suction ของเครื่องสูบน้ำจะต้องเป็นแบบลดเบี้ยว (Eccentric Reducer) โดยติดตั้งด้านลดขนาดอยู่ด้านล่างสำหรับท่อแนวนอนเพื่อป้องกันอากาศขัง
  32. หน้าแปลนที่ Gate Valve, Globe Valve, Check Valve และ Strainer บางทีมีขนาด, ความหนา และรูร้อย Bolt ไม่เหมือนกัน ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนสั่งซื้อและติดตั้งซึ่งบางกรณีมีความยาวจำกัดจะมีปัญหามาก Rating ของหน้าแปลน Gate Valve มักจะต่ำกว่าวาล์วแบบอื่น ทำให้บางกว่า, ขนาดเล็กกว่า และรูร้อย Bolt น้อยกว่าด้วย หน้าแปลนที่วาล์วและท่อต้องมี Class เท่ากันด้วย
  33. การต่อหน้าแปลนเข้าด้วยกันต้องมีปะเก็นคั่นกลางกันรั่ว ชนิดและความหนาของปะเก็นให้เช็คตาม Class ของหน้าแปลน และของเหลวในท่อ เมื่อติดตั้งปะเก็นใหม่ๆ อาจมีการรั่วซึมบ้างเล็กน้อยเนื่องจากหน้าแปลนประกบไม่แน่นพอ และปะเก็นยังไม่ดูดซึมน้ำทำให้พองตัวเล็กน้อยอุดรอยรั่ว ให้ทิ้งไว้สักพักแล้วขันน๊อตจนแน่น บางทีเอาปะเก็นชุบน้ำก่อนติดตั้งก็ได้เหมือนกัน หน้าแปลนที่ประกบกันต้องได้ระนาบเดียวกันไม่บิดเบี้ยวซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึม
  34. ท่อที่เดินผ่านคาน, ผนัง และพื้นอาคารต้องมี Sleeve โดยวางตำแหน่งให้แน่นอน ท่อที่ร้อยผ่านอยู่กลาง Sleeve วัสดุทำ Sleeve อาจใช้ท่อเหล็กหรือเหล็กแผ่นนำมาม้วนแล้วเชื่อมรอยต่อก่อนทาสีกันสนิมทั้งภายนอกและภายในทั้งหมด ขนาดของ Sleeve ต้องใหญ่กว่าขนาดท่อรวมฉนวนหุ้มท่อ (ถ้ามี) ประมาณ 1 Size เช่นท่อขนาด 3 นิ้ว Sleeve ต้องไม่เล็กกว่า 4 นิ้ว หรือไม่ใหญ่กว่า 5 นิ้ว เป็นต้น Sleeve ที่พื้นอาคารต้องยกของสูงกว่าพื้นอาคารที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้วประมาณ 5 ซม. เพื่อป้องกันน้ำรั่วจากพื้นชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง หลังจากติดตั้งท่อเรียบร้อยแล้วต้องอุดช่องว่างระหว่างท่อ และ Sleeve ให้เต็มด้วยฉนวนหรือวัสดุทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ท่อผ่าน Sleeve ในส่วนที่ไม่มีฝ้าควรมีเหล็กแผ่นกลมปิดโดยรอบ (Escutcheon plate) ให้ขอบนอกของเหล็กแผ่นใหญ่กว่าผิวท่อประมาณ 10 ซม. แล้วทาสีให้เข้ากับสีของอาคาร เหล็กปิดต้องทำหลังฉาบปูนทาสีอาคารเรียบร้อยแล้ว
  35. Sleeve ที่ฝังกับผนังอาคารด้านนอก, ถังเก็บน้ำ หรือห้องที่มีความชื้นต่างกันมากๆ เช่นห้องเย็น, ห้องไอน้ำ ต้องมี Water Stop ที่กึ่งกลาง Sleeve โดยใช้เหล็กแผ่นความหนาไม่ต่ำกว่า 2.5 มม. และขอบนอกของเหล็กแผ่นใหญ่กว่า Sleeve ประมาณ 10 ซม. เชื่อมตลอดแนวกับ Sleeve
  36. ท่อที่ติดตั้งเคียงกันต้องเผื่อช่องว่างระหว่างท่อไว้สำหรับทำงานเช่น ขันเกลียว, หุ้มฉนวน, ติดหน้าแปลน, ถอดเปลี่ยนวาล์ว และช่องระหว่างท่อกับอาคารภายหลังหุ้มฉนวนแล้วต้องไม่น้อยกว่า 10 ซม.
  37. การต่อท่อที่เดินเคียงกันควรให้ข้อต่อเหลื่อมกันพอให้ทำงานได้สะดวก
  38. เช็คชนิดของวาล์วว่าเป็นแบบ Rising หรือ Non-Rising Stem เพราะวาล์วขนาดใหญ่แบบ Rising Stem เวลาเปิดวาล์วเต็มที่จะมีก้านวาล์วยื่นออกมาก ที่ว่างด้านหัววาล์วอาจไม่พอ ตรวจสอบและวางแผนให้แน่ใจเสียก่อนจะได้ไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง
  39. ต้องติดตั้งวาล์วให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่หมุนได้สะดวก เช็คจากผู้ผลิตด้วยว่าวาล์วติดตั้งในตำแหน่งเอียงหรือหัวกลับได้หรือไม่ เพราะวาล์วบางชนิดกำหนดให้ติดในตำแหน่งตั้งขึ้นเท่านั้น
  40. ตรวจสอบ Check วาล์วว่าเป็นแบบใด
    • Swing Check ติดตั้งได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
    • Lift Check ติดตั้งได้เฉพาะท่อแนวนอนเท่านั้น
    • Silent Check ติดตั้งได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ใช้ป้องกันน้ำกระแทกกลับ (Water Hammer) ได้ดีแต่ราคาแพง

      ให้เช็คทิศทางน้ำเข้า-ออก วาล์วทุกครั้งก่อนติดตั้ง

      Swing Check

  41. วาล์วในห้องเครื่องที่อยู่สูงเกินกว่า 2.5 เมตร ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องปิด-เปิดบ่อยๆ อาจจะต้องติด Chain Wheel ให้ใช้ห้อยลงมาเหนือพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้หมุนพวงมาลัยวาล์วได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้บันได โซ่ที่ห้อยลงมาอาจกีดขวางทางเดินต้องเตรียมที่ผูกโซ่หลบไปข้างๆ ด้วย
  42. การทดสอบท่อให้ใช้น้ำอัดให้เต็มท่อโดยไล่อากาศออกจากระบบให้หมด ความดันในการทดสอบ ส่วนมากใช้ 1.5 เท่าของความดันขณะใช้งาน เมื่ออัดน้ำจนได้ตามความต้องการแล้วให้รักษาความดันนั้นไว้ 2 ชั่วโมง หากความดันไม่ลดก็ถือว่าใช้ได้
  43. Strainer ต้องติดตั้งในลักษณะที่ถอดไส้กรองออกทำความสะอาดได้โดยเว้นที่ด้านดึงไส้กรองออกไว้ไม่น้อยกว่าความยาวไส้กรอง ส่วน Strainer ที่ติดตั้งในแนวนอนให้เช็คความสูงของท่อเพื่อให้ดึงไส้กรองออกได้โดยไม่ติดพื้น
  44. เมื่อติดตั้งท่อเสร็จเรียบร้อยให้ทาสีกันสนิมที่ท่อเหล็กดำทั้งหมดก่อนหุ้มฉนวน
  45. ก่อนการใช้งานจริงต้องเดินเครื่องสูบน้ำให้น้ำหมุนเวียนและถ่ายน้ำเพื่อให้สิ่งสกปรกออกไปจากระบบท่อให้หมด ต้องถอดไส้กรอง Strainer ออกล้างบ่อยๆ ก่อนการใช้งานจริง
  46. การหุ้มฉนวนที่ท่อตรงให้ทำก่อนการทดสอบหารอยรั่วได้แต่เว้นไว้ที่ Fitting, วาล์วและหน้าแปลน ภายหลังการทดสอบเป็นที่ยอมรับแล้วจึงหุ้มฉนวนส่วนที่เว้นไว้ได้ โดยควรเว้นไว้เท่ากับหรือไม่มากกว่าความยาวฉนวน 1 ท่อน

    ท่อที่หุ้มฉนวนแล้วควรหุ้มด้วยผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันฝุ่นละออง

  47. ข้อต่อของฉนวนต้อง Seal ด้วยวัสดุกันน้ำอย่างดีเพื่อไม่ให้รอยรั่วซึ่งจะทำให้เกิดหยดน้ำรอบท่อได้ หากเกิดการ Condense ที่ท่อจะหาจุดที่ Condense ยากมาก เพราะน้ำจะหยดลงบนฉนวนและอาจไหลไปที่จุดอื่น บางทีต้องแกะฉนวนออกเป็นแนวยาวกว่าจะพบจุด Condense
  48. ท่อที่มีฉนวนหุ้มต้องมีไม้หรือ Glass Foam ขนาดเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของฉนวนรองรับท่อและมี Saddle รองไว้ด้านล่างอีกชั้นหนึ่ง
  49. ท่อเหล็กดำที่ฝังดินต้องป้องกันการเกิดสนิมโดยทาด้วย Coal Tar และหุ้มด้วย Asbestos อีกขั้นหนึ่ง
  50. การติดตั้ง Pressure Gauge ควรติดตั้งติดกับเครื่องจักรหลักที่ต้องการวัด Pressure Drop มากที่สุด หากติดตั้งโดยคร่อมอุปกรณ์อื่นๆ เช่น วาล์ว ฯลฯ เป็นต้นไปด้วยจะทำให้ค่า Pressure Drop ที่วัดได้มีค่าไม่ถูกต้อง และควรห่างจาก Fitting มากที่สุดด้วยในขณะเจาะท่อควรนำ Pressure Gauge ตัวอย่างไปลองทาบเข้ากับ Coupling ที่ติดอยู่กับท่อด้วย เพราะเนื่องจาก Pressure Gauge ที่ใช้อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 1/2 นิ้ว หากเผื่อเนื้อที่ไม่พออาจทำให้ติดตั้ง Pressure Gauge ไม่ได้

 

 
 

                                การติดตั้งพัดลมแบบ Propeller Fan ชนิดติดผนังให้ถูกวิธี

Sheet No. : TR-AC-01 
   November 06 
 


พัดลมแบบ Propeller Fan ส่วนใหญ่มักจะใช้เพื่อระบายอากาศในห้องเครื่องทั่วไป ไม่ว่าห้องเครื่องไฟฟ้า (Electrical Room), ห้องเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller Plant) และอื่นๆ ซึ่งการทำงานอาจเป็นแบบ Manual หรือ Automatic (โดยใช้ Timer หรือ Thermostat เป็นตัวควบคุม) การติตดั้งพัดลมแบบ Propeller Fan ให้ถูกวิธีควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. การเตรียมช่องเปิด หรือ Block-Out ที่ผนังควรตรวจสอบดูว่า เป็นผนังอิฐก่อ หรือผนังคอนกรีต หากเป็นผนังคอนกรีต จะต้องเตรียมวงกบไว้แต่เนิ่นๆ
  2. ประเภทของวงกบอาจเป็นวงกบที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือเหล็กรูปพรรณ ให้ตรวจสอบจากข้อกำหนดประกอบแบบด้วย
  3. ในกรณีที่เป็นผนังคอนกรีต ควรจะหาวิธียึดกับเหล็กโครงสร้าง หรือไม้แบบให้แข็งแรงก่อนเทคอนกรีต และต้องทำค้ำยันให้แน่นหนา เพื่อป้องกันการบิดรูปของวงกบในระหว่างการเทคอนกรีต ซึ่งโดยปกติจะใช้ไม้หน้าสามตอกขัดไวัในวงกบ
  4. ต้องตรวจสอบรายละเอียดขนาดของช่องเปิดหรือขนาดวงกบให้ถูกต้องก่อนดำเนินการจัดทำ ขนาดช่วงเปิด/วงกบจะต้องเหมาะสมกับขนาดของพัดลม หากเล็กหรือใหญ่เกินไปอาจทำให้ติดตั้งพัดลมไม่ได้
  5. ก่อนติดตั้งพัดลมต้องเสริมปะเก็นยางหนา 3 มม. โดยรอบวงกบ เพื่อป้องกันไม่ให้ลม และ/หรือ น้ำรั่วซึมได้
  6. ด้านนอกอาคารของช่องพัดลม ต้องติด Gravity Shutter หรือ Rain Hood เพื่อป้องกันฝนสาด และให้อยู่แนวเดียวกันกับผนังด้านนอก
  7. ควรตรวจสอบให้มีระยะห่างพอสมควรระหว่างช่องระบายอากาศ กับช่องอากาศบริสุทธิ์ เพื่อป้องกันอากาศที่ระบายออกไหลวนเข้าช่องอากาศบริสุทธิ์
  8. ต้องตรวจสอบความต้องการทางไฟฟ้าของมอเตอร์พัดลม และจัดเตรียมให้เหมาะสม
    • ในกรณีเป็นชนิด 220/1/50 ให้เตรียมเป็นแบบเต้ารับเพื่อรับเต้าเสียบของพัดลม เพื่อความสะดวกในการถอดซ่อมบำรุง เต้ารับไฟฟ้าควรเป็นแบบมี Fuse ป้องกันไฟรั่วด้วย
    • ในกรณีเป็นชนิด 380/3/50 ให้ติดตั้ง Starter ใกล้พัดลมที่สุด หากไม่สามารถทำได้ควรติดตั้ง Disconnect Switch แบบ No Fuse ไว้ใกล้พัดลม
  9. สายไฟฟ้าที่ต่อเข้า Terminal Box ของมอเตอร์พัดลมให้ร้อยในท่อร้อยสายแบบ Flexible Conduit ซึ่งจะใช้ชนิดกันน้ำหรือไม่ ก็แล้วแต่กรณี
  10. พัดลมระบายอากาศ, Gravity Shutter หรือ Rain Hood ของห้องเครื่องบางชนิด เช่น ห้องเก็บแบตเตอร์รี่ ต้องเป็นแบบ Chemical Proof เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของไอกรดจากแบตเตอร์รี่

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board