มาตรฐานหน้าแปลน (Flange) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) โดย คุณภากร รัชฏสุวรรณ
Sheet No. : TR-GE-17 
   February 09
 

 

หน้าแปลน คือ Pipe Fitting ซึ่งใช้ในการต่อท่อกับ Valve, Equipment หรือบางกรณีต่อระหว่างท่อกับท่อ

มาตรฐานของหน้าแปลนที่ใช้กันโดยทั่วไป มีหลายมาตรฐาน ได้แก่

  1. ASME (เดิมใช้ ANSI ) Standard Class 150, 300, 400, 600, 900 (เฉพาะหน้าแปลนที่ทำจากเหล็กดำ)
  2. BS 10 Standard Table A, D, E, F, H
  3. BS 4504 Standard Class PN 2.5, 6, 10, 16, 25, 40
  4. JIS Standard Class 5K, 10K, 16K, 20K, 30K, 40K, 63K

วิธีการเลือกใช้หน้าแปลนที่ถูกต้อง

  1. หน้าแปลนที่ใช้ต้องมีมาตรฐานเดียวกันกับหน้าแปลนของ Valve, Equipment ฯลฯ Dimension ที่ต้องพิจารณา คือ :-
    • Bore Diameter คือ ระยะ A
    • Outside Diameter คือ ระยะ B
    • Thickness คือ ระยะ C (รวม raised face ด้วย)
    • Diameter of raised face คือ ระยะ D
    • Pitch Circle Diameter (P.C.D.) คือ ระยะ E
    • Hole Diameter ที่ใช้สำหรับร้อย Bolt
    • Number of bolt holes (จำนวนรูที่ใช้ร้อย Bolts, Nuts และ Washers)
    • เป็นแบบหน้ายก (Raise Face) คือ ระยะ F หรือแบบหน้าเรียบ (Flat Face)

      หากใช้หน้าแปลนต่างมาตรฐานกันแล้ว อาจเกิดปัญหาเรื่องการรั่วขึ้นได้

  2. ถ้าหน้าแปลนของ Valve 2 ตัว ที่อยู่ติดกันมีมาตรฐานเดียวกัน ให้ติดตั้งติดกันได้เลย ยกเว้น Butterfly Valve ที่ต้องเผื่อระยะสำหรับลิ้นวาล์วในขณะเปิดสุด
  3. ไม่ควรเชื่อมหน้าแปลนติดกับ Fitting เช่น ข้องอ, สามตา เพราะอาจจะมีปัญหาในการขัน Bolt
  4. ในกรณีที่ใช้ Butterfly Valve แบบ Wafer หรือ Semi-Lug เป็น Drainage Valve โดยกำหนดให้มีหน้าแปลนบอด (Blind Flange) ปิดปลาย ต้องมีหน้าแปลนเพิ่มขึ้นอีก 1 ตัว สำหรับต่อกับหน้าแปลนบอด มิฉะนั้น เวลาถอดหน้าแปลนบอดออก เพื่อทำการ Drain ตัว Butterfly Valve จะหลุดออกมาด้วย


  5. หน้าแปลนที่ใช้กับ Butterfly Valve ทุกแบบห้ามใช้ประเก็นโดยเด็ดขาด
  6. การเลือกประเก็น (Gasket) ที่เหมาะสม ควรพิจารณาคุณสมบัติดังนี้ :-
    • * วัสดุที่ใช้ (ยาง, เส้นใยพืช, ยางที่มีผ้าใบประกอบ ฯลฯ)
    • ชนิดของของไหลในท่อ (วัสดุประเก็นต้องไม่ถูกกัดกร่อน)
    • อุณหภูมิและความดันของของไหลในท่อ
    • ความหนา

      *ไม่ควรเลือกประเก็นที่ทำจาก Asbestos

  7. ประเก็นที่ใช้กับหน้าแปลนแบบหน้ายก (Raise Face) จะต้องเป็นแบบ Ring Gasket ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับระยะ D เท่านั้น

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            ตำแหน่ง Union ของ Threaded Pipe
Sheet No. : TR-GE-16 
   December 09
 

 

Straight Union
Female

อุปกรณ์ Union เป็น Pipe Fitting ที่ใช้ในการต่อท่อเหล็กแบบเกลียว (ที่มีขนาดไม่เกิน 2 ” Æ ) ส่วนใหญ่จะติดตั้งใกล้ Valve, เครื่องจักร ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการถอด เพื่อ Service ภายหลัง (ทำการบำรุงรักษา) ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ คือ ตำแหน่ง Union ที่ติดตั้งนั้นไม่เหมาะสม ไม่สามารถทำการถอดเพื่อทำการ Service ได้ ต้องใช้วิธีตัดท่อโดยการใช้ Gas ตัด ซึ่งใช้เวลามาก ดังนั้น ผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบตำแหน่ง Union ในบริเวณดังต่อไปนี้ คือ :-

  1. บริเวณในฝ้า ควรหลีกเลี่ยงในการติดตั้ง Union ภายในบริเวณฝ้าที่เป็นแบบ Gypsum Board ฉาบเรียบ แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องให้ทำ Access Panel ไว้ และกำหนดตำแหน่งชัดเจนไว้ใน As Built Drawing
  2. บริเวณใน Shaft ปิด ตำแหน่ง Union ที่เหมาะสมต้องให้อยู่ในบริเวณของช่อง Access Door และต้องจัดท่อไม่ให้อยู่ชิดกัน หรือชิดผนังอีกด้านหนึ่งของ Shaft มากเกินไป มิฉะนั้นหากต้องการ Service จะไม่มี Space เพียงพอที่สอดกุญแจคอม้าเข้าไปขันได้ ดังนั้น ในการกำหนดช่อง Block-Out ที่พื้น Slab ขอให้ระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย แต่หากช่องเปิดมีจำกัด อาจพิจารณาใช้การต่อท่อแบบ Flanged-Connection แทน
จะเห็นได้ว่าหากติดตั้ง Union ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ลดปัญหาและเวลาที่ใช้ในการที่ต้องทำการ Service ในภายหลังได้อย่างมาก

     

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            การติดตั้งงานตัวอย่าง (Mock-up Work) (3)
Sheet No. : TR-GE-15 
   November 09
 

 

รายการติดตั้งงานตัวอย่าง
:

การติดตั้ง

  • รางเดินสาย (Wireways)
  • รางเคเบิ้ล ( Cable Trays)
  • รางเคเบิ้ลแบบบันได ( Cabel Ladders)

(ทั้งงานวิศกรรมระบบไฟฟ้าและระบบอื่นๆ)

วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
:
  1. งานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร
    • รางเดินสาย (Wireways) พร้อม Fitting ต่างๆ
    • รางเคเบิ้ล (Cable Trays) พร้อม Fitting ต่างๆ
    • รางเคเบิ้ลแบบบันได (Cable Ladders) พร้อม Fitting ต่างๆ
    • กล่องดึงสาย (Pull Boxes)
  2. งานสถาปัตยกรรม
    • ผนังอิฐก่อ (ฉาบปูน)
    • ฝ้าเพดาน (ทั้งแบบ T-Bar และแผ่นเรียบ)
พื้นที่ที่ติดตั้ง
:
ในพื้นที่ที่กำหนด
เอกสารอ้างอิง
:
  1. Specification
  2. Typical Detail ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติแล้ว
ลักษณะโครงการที่ควรทำ
:

โครงการอาคาร / โรงงานต่างๆ ที่มีทั้งแบบติดตั้งฝ้าเพดานหรือเดินลอย (Exposed)

ข้อสรุปหรือการอนุมัติที่ได้จากงานตัวอย่าง

1. สรุปลักษณะรูปร่างและ Fitting ต่างๆ ได้แก่ :-

  • ความหนาของแผ่นโลหะที่ใช้ทั้งตัวรางและฝาครอบ
  • วิธีป้องกันการผุกร่อน (เคลือบสี / Electro Galvanized / Hot Dip Galvanized / ฯลฯ)
  • ความยาวต่อท่อน ทั้งตัวรางและฝาครอบ (ฝาครอบไม่ควรยาวเกินท่อนละ 1,200 มม. เพื่อความสะดวกในการเปิดเพื่อ Service ภายหลัง)
  • ลักษณะและชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ Cable Support ที่ติดตั้งในตัวราง

1.1 รางเดินสาย (Wireways) พร้อม Fitting ต่างๆ

การติดตั้งอุปกรณ์งานระบบที่ผนังยิปซั่มฉาบเรียบ ทาสี

 

 

การติดตั้งรางเดินสาย (Wrieways) ในแนวนอน

1.2 รางเคเบิ้ล (Cable Trays) พร้อม Fitting ต่างๆ

รางเคเบิ้ล (Cable Trays) และอุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ

 

 

การติดตั้งรางเคเบิ้ล (Cable Trays)

1.3 รางเคเบิ้ลแบบบันได (Cable Ladders) พร้อม Fitting ต่างๆ

รางเคเบิ้ลแบบบันได (Cable Ladders) พร้อมอุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ

 

 

การติดตั้งรางเดินสายแบบบันได (Cable Ladders) ในแนวซ้อนกัน

2 . สรุปลักษณะการติดตั้ง

  • วิธีการเชื่อมต่อระหว่างรางกับราง, รางกับอุปกรณ์ และรางกับกล่องดึงสาย / แผงสวิทซ์ไฟฟ้า (ต้องใส่ยางรองที่บริเวณขอบรางเพื่อป้องกันสายไฟฟ้าถูกบาดขณะทำการดึงสาย)
  • ลักษณะการติดตั้ง / ขนาดของสายต่อลงดิน (ดู Specification และ Typical Detail)
  • ลักษณะการยึดรางกับฝาครอบ และชนิด Screw ที่ใช้
  • วิธีการแขวนราง และระยะห่างพร้อมวัสดุที่ใช้ทำ Suport รวมทั้งลักษณะการทาสีป้องกันสนิมปลาย Support ที่เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กซุบสังกะสี
  • วิธีการยึดรางและระยะห่างพร้อมวัสดุที่ใช้ทำ Support ที่ติดตั้งในช่อง Shaft
  • วิธีการและชนิด Screw ที่ใช้ยึดรางกับ Support
  • วิธีการติดตั้งแผ่นโลหะกั้นภายในรางกรณีที่ติดตั้งสายไฟฟ้ากำลังและสายไฟฟ้าควบคุมอยู่ภายในรางเดียวกัน
  • วิธีการยึดสายไฟฟ้ากับราง รวมทั้งการจัดกลุ่มสายไฟฟ้ากำลัง
  • ลักษณะการทาสีสัญญลักษณ์ (รหัสสี, สัญญลักษณ์, พ่นสี / ติดแถบ Sticker) ทั้งรางที่ติดตั้งในแนวนอน และแนวตั้ง
รางเดินสายที่มี Cable Support สำหรับยึดสายไฟฟ้า และจัดกลุ่มสายไฟฟ้า

 

 

การติดตั้งรางเดินสายจากกล่องดึงสายลงมาที่แผงสวิทซ์ไฟฟ้า
  • ลักษณะการติดตั้งแบบเดินลอยจากในฝ้าเพดานลงมาที่แผงสวิทซ์ไฟฟ้า ที่มีการกำหนดให้ทาสีผนัง
    • ควรทาสีผนังก่อนติดตั้งราง
    • ต้องมีระยะห่างจากผนังอย่างน้อย 100 มม. เพื่อให้งานฝ้าเพดานสามารถจบงานติดตั้งฝ้าเพดานได้
    • ส่วนที่ผ่านฝ้าเพดาน ฝาครอบควรมีความยาวไม่เกิน 300 มม. เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา

     

การติดตั้งรางเดินสายในช่อง Shaft พร้อมแสดงรหัสสี และสีสัญลักษณ์

 

 

การติดตั้งรางเดินสายในแนวนอน

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            การติดตั้งงานตัวอย่าง (Mock-up Work) (2)
Sheet No. : TR-GE-14 
   September 09
 

 

รายการติดตั้งงานตัวอย่าง
:
การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ และ UPVC พร้อม Support
(ทั้งงานวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและระบบอื่นๆ)
     
วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
:
  1. งานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร
    • ท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ และ UPVC พร้อม Fitting ต่างๆ
    • Unistrut พร้อม Clamp ที่ทาสีสัญญลักษณ์
    • กล่องต่อสายมาตรฐาน
    • Flexible Conduit (ทั้งแบบธรรมดาและแบบกันน้ำ)
    • ฯลฯ
  2. งานสถาปัตยกรรม
    • ผนังอิฐก่อ (ฉาบปูน / ไม่ฉาบปูน)
    • ผนังเบา
    • ฝ้าเพดาน (ทั้งแบบ T-Bar และแผ่นเรียบ)
    • ฯลฯ
พื้นที่ที่ติดตั้ง
:
ในพื้นที่ที่กำหนด
เอกสารอ้างอิง
:
  1. Specification
  2. Typical Detail ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติแล้ว
  3. เอกสารขออนุมัติใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติแล้ว
ลักษณะโครงการที่ควรทำ
:

โครงการอาคารโรงงานต่างๆ

ข้อสรุปหรือการอนุมัติที่ได้จากงานตัวอย่าง


ประเภทของท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะที่ใช้โดยทั่วไป



แบบธรรมดา
แบบกันน้ำ

ประเภทของ Flexible Conduit

 


ประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้า UPVC และอุปกรณ์ประกอบ
  1. สรุปลักษณะการใช้งานของท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะแต่ละประเภท ได้แก่ :-
    • ท่อ Electrical Metallic Tubing : EMT
    • ท่อ Intermediate Metal Conduit : IMC
    • ท่อ Rigid Steel Conduit : RSC
    • ท่อ Unplasticized Polyvinyl Chloride : UPVC
    • ท่อ Flexible Conduit แบบธรรมดา
    • ท่อ Flexible Conduit แบบกันน้ำ (ส่วนใหญ่จะใช้ต่อเข้ากับเครื่องจักรกล)
    • กล่องต่อสายรูปร่างต่างๆ (เช่น Square, Handy, Octagon ฯลฯ)

      ตัวอย่างสีสัญญลักษณ์และตัวอักษร

  2. สรุปสีสัญญลักษณ์และตัวอักษรที่พ่นไว้บริเวณกล่องต่อสาย, ฝากล่องต่อสาย และ Clamp


    กล่องต่อสายชนิดต่างๆ และ Fitting ที่ใช้โดยทั่วไป

  3. สรุปลักษณะกล่องต่อสายและ Fitting ที่ต่อระหว่างท่อร้อยสายไฟฟ้ากับท่อร้อยสายไฟฟ้า และระหว่างท่อร้อยสายไฟฟ้ากับกล่องต่อสาย
    • กล่องต่อสายให้ใช้แบบลึก
    • ลักษณะการต่อท่อกับท่อ ทั้งแบบธรรมดาและกันน้ำ
    • Fitting ที่ใช้ต่อท่อกับกล่องต่อสายต้องมีทั้ง Lock Nut และ Bushing โดยให้ติดตั้งในเวลาเดียวกันก่อนดึงสายไฟ
    • วิธีการใช้กล่องต่อสายชนิดพิเศษ เช่นการต่อท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้คานโดยใช้ LB ( ดูรูป), การต่อท่อร้อยสายไฟฟ้านอกอาคารโดยใช้ Round Box แบบกันน้ำ เป็นต้น
  4. สรุปลักษณะการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ และ UPVC
    • วิธีการแขวนโดยใช้อุปกรณ์ Unistrut
      • ลักษณะการทาสีป้องกันสนิมปลาย Unistrut ทั้งสองด้านและปลาย Rod ที่เป็นโลหะชุบสังกะสี
      • ลักษณะการยึด Clamp ที่ทาสีสัญญลักษณ์



        ลักษณะการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้า
        แนบท้องพื้นคอนกรีต


        การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบเดินลอย
        ใต้พื้นใต้คานไม่มี Sleeve



      การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบเดินลอยผ่านคานแบบมี Sleeve

     

    • วิธีการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแนบท้องพื้นคอนกรีต รวมทั้งการผ่านคานทั้งแบบมี Sleeve และไม่มี Sleeve และลักษณะการทาสีท่อร้อยสายไฟฟ้าในกรณีที่กำหนดให้ทาสีใต้ท้องพื้นคอนกรีต (เช่น บริเวณที่จอดรถ เป็นต้น)


      การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบเดินลอยผ่านคานแบบมี Sleeve

    • ลักษณะการต่อ Flexible Conduit เข้ากับดวงโคมที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน
    • ลักษณะการเดินท่อร้อยสายไฟฟ้าผ่านฝ้าเพดานทุกชนิด และเดินลอยแนบผนังไปที่ตู้ไฟฟ้า หรือกล่องต่อสายพร้อม Escutcheon Plate


      การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบฝังผนังก่อฉาบ


      การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบเดินลอยเกาะผนัง


      การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบฝังในผนังเบา

      เต้ารับไฟฟ้า แบบติดลอยผนังก่อฉาบ

    • ลักษณะการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ผนังพร้อมกล่องต่อสาย
      • แบบฝังในผนังอิฐก่อ
      • แบบเดินลอยรวมทั้งลักษณะการทาสีท่อร้อยสายไฟฟ้าในกรณีที่กำหนดให้ทาสีผนัง (ควรทาสีผนังก่อนติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้า)
      • แบบฝังในผนังเบา


        ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์งานระบบ


        เต้ารับไฟฟ้า แบบฝังในผนังเบา
        (ควรจัดระยะช่องไฟให้เท่ากัน)


        การติดตั้งอุปกรณ์งานระบบที่ผนังก่ออิฐฉาบปู ทาสี

        การติดตั้งอุปกรณ์งานระบบที่ผนังก่ออิฐฉาบปู ทาสี


        การติดตั้งอุปกรณ์งานระบบที่ผนังยิปซั่มฉาบเรียบ ทาส


    • ระดับและระยะห่างของกล่องต่อสายของงานต่างๆ เช่น สวิทซ์, เต้ารับ, Thermostat, Emergency Light ฯลฯ
    • ลักษณะการเดินท่อร้อยสายไฟฟ้า, กล่องต่อสายพร้อม Support ฝังในพื้นคอนกรีต, ใต้พื้นยก (Raise Floor)

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            การติดตั้งงานตัวอย่าง (Mock-up Work) (1)
Sheet No. : TR-GE-13 
   August 09
 

 

รายการติดตั้งงานตัวอย่าง
:
งานปูกระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อนกับงานติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมระบบประกอบอาคารของห้องสุขา (ไม่รวมงานฝ้าเพดาน)
     
วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
:
  1. งานสถาปัตยกรรม
    • กระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อนปูพื้น เคาน์เตอร์ และผนัง
    • สุขภัณฑ์รวมถึงวาล์วต่างๆ
    • ผนังห้องน้ำและอุปกรณ์ประกอบ
    • อิฐก่อ
    • ฯลฯ
  2. งานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร
    • ท่อน้ำ และฉนวนหุ้มท่อน้ำร้อน
    • ท่อร้อยสายและอุปกรณ์ประกอบ
    • Floor Drain / Floor Cleanout
    • ช่องเปิดที่พื้นหรือผนัง Shaft (ถ้ามีใช้ในโครงการ)
    • ฯลฯ
พื้นที่ที่ติดตั้ง
:
  1. ในพื้นที่ที่กำหนด หรือ
  2. ในพื้นที่จริง
เอกสารอ้างอิง
:
  1. Specification
  2. Typical Detail ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติแล้ว
  3. เอกสารขออนุมัติใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติแล้ว
  4. Shop Drawing งานสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารที่เกี่ยวข้อง
  5. คู่มือการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ
ลักษณะโครงการที่ควรทำ
:
  1. อาคารสูงต่างๆ ที่มีห้องสุขาเป็นจำนวนมาก
  2. ห้องสุขาในห้องพักตามโรงแรม, Resort

ข้อสรุปหรือการอนุมัติที่ได้จากงานตัวอย่าง

  1. ชนิด สี ขนาดของกระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อนทั้งที่ใช้กับผนังและพื้น
  2. ลักษณะการจบงานปูกระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อนทั้งในแนวตั้ง (ผนัง) และแนวนอน (เคาน์เตอร์)
  3. ลักษณะการติดตั้งอ่างล้างหน้าในเคาน์เตอร์ รวมถึงกระจกส่องหน้า
  4. ลักษณะการติดตั้งสุขภัณฑ์ (เช่น ความสูงของโถปัสสาวะ, ระยะห่างของโถส้วมถึงผนัง ฯลฯ) พร้อมวาล์วต่างๆ, สายอ่อน, สายชำระ, ที่ดับกลิ่น, ที่ใส่กระดาษชำระ, ฯลฯ เป็นต้น
  5. ลักษณะการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าและกล่องพักสาย (Square box, Handy box ควรใช้แบบ box ลึก) ในผนัง รวมทั้ง Accessories เช่น Bushing, Locknut ฯลฯ
  6. ลักษณะการติดตั้งกล่องพักสายทั้งแนวนอนและแนวตั้งในผนังกระเบื้อง หรือหินแกรนิตหรือหินอ่อน โดยเน้นที่ระยะห่างระหว่าง Box กับ Box, ระยะเผื่อของขอบ Box ก่อนปูกระเบื้อง, ระดับของ Box เมี่อวัดจากจุดอ้างอิง เพื่อใช้ติดตั้งสวิทซ์, Outlet สำหรับ Hand Dryer / เครื่องโกนหนวด / ไฟฉุกเฉิน / ฯลฯ
  7. ลักษณะการติดตั้งและตำแหน่งของ Floor Drain, Floor Cleanout (ไม่ควรใช้ Cleanout ใต้พื้นเพราะ Service ยาก) ให้สอดคล้องกับแนวกระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อน โดยทั่วไปจะให้อยู่ในส่วนรอยต่อของแนวกระเบื้องหรือหินแกรนิตหรือหินอ่อน
  8. ลักษณะการติดตั้ง Gutter ระบายน้ำหลังโถส้วม (ถ้าเป็นไปได้) เพื่อมิให้น้ำที่ผ่านการชำระล้างแล้วไหลออกมานอกห้อง
  9. ลักษณะการติดตั้งช่องเปิดบริการ (Access Door) ที่พื้นเน้นถึงรูปแบบ / ลักษณะ / การ Seal กันกลิ่น (ถ้ามีใช้ในโครงการ)
  10. ลักษณะการติดตั้งช่องเปิดบริการ (Access Door) ที่ผนังเน้นถึงรูปแบบ / ลักษณะ / การเปิดใช้สอย (ถ้ามีใช้ในโครงการ)
  11. ลักษณะการติดตั้งท่อน้ำดี, ท่อ Vent, ท่อ Air Chamber และท่อน้ำร้อนที่หุ้มฉนวนในผนัง พร้อมต่อเข้ากับ Stop Valve พร้อมลักษณะการยึด Support
  12. ลักษณะการทาสีป้องกันสนิมท่อต่างๆ (ถ้ากำหนด)

รูปตัวอย่าง

 


การติดตั้งท่อน้ำดี , Air Chamber และท่อ Vent พร้อม Support

 

 

การติดตั้งท่อน้ำดี , Air Chamber และท่อ Vent พร้อม Support
 


การติดตั้งท่อร้อยสายในผนังพร้อมกล่องพักสาย

 

 

การติดตั้งสุขภัณฑ์รวมทั้ง Floor Drain
 


การติดตั้งสุขภัณฑ์

 

 

การติดตั้ง Floor Drain
 


การติดตั้ง Floor Drain Floor Cleanout ใต้อ่างล้างหน้า โดยให้สอดคล้องกับลายกระเบื้อง (ไม่ควรให้ Floor Drain อยู่กลางห้องเพราะปรับ Slope ยากอาจทำให้เลอะเทอะง่าย)

 

 

การติดตั้ง Floor Cleanout บนพื้นกระเบื้อง โดยให้สอดคล้องกับแนวกระเบื้อง
 


การติดตั้งช่องเปิดบริการ (Access Door) ในกรณีใต้ห้องสุขาเป็น Sump

 

 

การติดตั้งกล่องพักสายให้สอดคล้องกับแนวกระเบื้อง
 


การกำหนดจุดเริ่มต้นการปูกระเบื้องผนัง

 


การติดตั้งอ่างล้างหน้า Floor Drain และ Floor Cleanout

 

 

ตัวอย่างการติดตั้งสุขภัณฑ์โดยทั่วไป (1)
 

ตัวอย่างการติดตั้งสุขภัณฑ์โดยทั่วไป (2)

Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            การติดตั้ง Flexible Connector ที่ถูกต้อง
Sheet No. : TR-GE-12 
   January 09
 

 

1. หน้าที่ของ Flexible Connector

โดยทั่วไป Flexible Connector ที่ติดตั้งในเส้นท่อต่างๆ จะทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ:-

    • ทำหน้าที่เป็น Expansion Joint เพื่อป้องกันความเสียหายของเส้นท่อต่างๆ ที่ติดตั้งบริเวณรอยต่อของอาคาร (Building Joint)
    • ทำหน้าที่ป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรหลักไปสู่โครงสร้างอาคาร และ/หรือ เส้นท่อต่างๆ

เครื่องจักรหลักดังกล่าว ได้แก่

    • เครื่องสูบน้ำ (Water Pump)
    • เครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)
    • เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor)
    • อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน

หมายเหตุ : เครื่องจักรหลักตามรายการต่อไปนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ Flexible Connector ที่เส้นท่อ ดังนี้:-

    • เครื่องส่งลมเย็น (Air Handling Unit)
    • เครื่องเป่าลมเย็นขนาดเล็ก (Fan Coil Unit)
    • หอผึ่งน้ำเย็น (Cooling Tower) นอกจากท่อ Condenser Supply และท่อ Equalizer ที่ต่อจาก Water Basin ที่ทำด้วย FRP (Fiberglass Reinforcement Polyester) ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณข้อต่อจาก Water Basin อาจมีความแข็งแรงไม่เพียงพอจากการดึงของท่อน้ำดังกล่าว
    • เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) แต่ในกรณีนี้ควรตรวจสอบจากแบบ, รายละเอียดประกอบแบบ และ/หรือ ผู้ออกแบบอีกครั้งหนึ่ง

2 . วัสดุที่ใช้ทำ Flexible Connector

จะมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น

    • ยางธรรมชาติ
    • ยางสังเคราะห์ เช่น EDPM ฯลฯ
    • Stainless Steel
    • ทองแดง
    • ฯลฯ

    ในกรณีนี้จะเน้นเฉพาะการติดตั้ง Flexible Connector ที่ทำจากยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์เท่านั้น

รูปที่ 1 : ลักษณะของ Flexible Connector แบบต่างๆ

3 . ลักษณะการต่อเชื่อมของ Flexible Connector

    • ต่อแบบเกลียว (Threaded End) ซึ่งจะมีขนาดเล็กตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. (1/2 นิ้ว) จนถึง 50 มม. (2 นิ้ว)
    • ต่อแบบหน้าแปลน (Flanged End) ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ และมีจำนวน Bellow 1 ลูก (ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. (1/2 นิ้ว) ขึ้นไป) หรือจำนวน Bellow 2 ลูก (ตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. (1/2 นิ้ว) จนถึงไม่เกิน 350 มม. (14 นิ้ว))

4. คุณสมบัติโดยทั่วไปของ Flexible Connector

    • สามารถหดตัวได้ (Compression)
    • สามารถยืดตัวได้ (Elongation)        
    • สามารถเคลื่อนไหวเชิงมุมได้ (Angular Movement)
    • สามารถเคลื่อนไหวในแนวต่างระดับได้ (Transverse Movement)

คุณสมบัติทั้ง 4 ประการของ Flexible Connector ดังกล่าวข้างต้นของแต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกันออกไป

5 . การติดตั้งโดยทั่วไป

    • ในกรณีที่ติดตั้งบริเวณ Building Joint ของอาคาร ให้ติดตั้ง Flexible Connector โดยไม่ต้องใส่ Control Rods (Tie Rods) ในทุกกรณี แต่ที่สำคัญจะต้องยึดท่อในแต่ละด้านให้แข็งแรงดังรูป

รูปที่ 2 : การติดตั้ง Flexible Connector บริเวณ Building Joint ของอาคาร
    • ในกรณีที่ติดตั้งเพื่อป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรหลักต้องติดตั้ง Flexible Connector ให้ใกล้กับเครื่องจักรหลักมากที่สุด ยกเว้น ถ้าต้องต่อข้อต่อลด (ในกรณีของเครื่องสูบน้ำ) จากเครื่องจักรหลักให้ต่อ Flexible Connector หลังข้อต่อลด เพื่อให้ใช้ขนาดเท่ากับเส้นท่อที่ต่อกับเครื่องจักรนั้นๆ ดังรูป

รูปที่ 3 : การติดตั้ง Flexible Connector หลังข้อต่อลดของเครื่องสูบน้ำ

6 . การติดตั้ง Control Rods (Tie Rods) ที่ถูกต้อง

    • Control Rods (Tie Rods) จะเป็นชุดอุปกรณ์ติดตั้งที่ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ Flexible Connector เคลื่อนตัวออกจากแนวแกนท่อมากเกิน ไปในขณะที่เครื่องจักรหลักทำงานภายใต้ความดันที่สูงมากๆ (ตั้งแต่ 200 psi ขึ้นไป) จนอาจทำให้ Bellow ที่ทำจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์เกิดฉีกขาดเสียหาย

รูปที่ 4 : การติดตั้ง Control Rods (Tie Rods)
    • Control Rods (Tie Rods) จะใช้ติดตั้งที่ Flexible Connector เฉพาะที่ทำหน้าที่ป้องกันเสียง และความสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรหลักเท่านั้น ส่วน Flexible Connector ที่ติดตั้งบริเวณ Building Joint ของไม่ต้องใส่ Control Rods (Tie Rods) แต่ต้องยึดท่อแต่ละด้านให้แข็งแรง (ดูรูปที่ 2 ข้างต้น)
    • จำนวนและขนาด Control Rods (Tie Rods) ที่ติดตั้งรวมทั้งความหนาของ Plates ที่ใช้ยึด Control Rods (Tie Rods) ให้ตรวจสอบจากคู่มือการติดตั้งของ Flexible Connector แต่ละยี่ห้อ ซึ่งอาจจะมีจำนวน 2, 3 หรือ 4 ชุด ซึ่งแล้วแต่ขนาดของ Flexible Connector และความดันของระบบ
    • หลักการสำคัญของการติดตั้ง Control Rods (Tie Rods) คือ ต้องมิให้ชิ้นส่วนใดๆ ของ Control Rods (Tie Rods) ซึ่งเป็นโลหะสัมผัสโดยตรงจากหน้าแปลนด้านหนึ่งไปยังหน้าแปลนอีกด้านหนึ่ง มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรหลักไปสู่โครงสร้างอาคาร และ/หรือ เส้นท่อต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์
    • การติดตั้ง Control Rods (Tie Rods) โดยทั่วไปให้ติดตั้งเฉพาะที่เครื่องสูบน้ำเท่านั้น แต่หากความดันของระบบมีค่าตั้งแต่ 200 psi ขึ้นไป ให้ตรวจสอบการติดตั้งจากคู่มือการติดตั้งของ Flexible Connector แต่ละยี่ห้อด้วย การติดตั้งให้ติดตั้งตามรูป

รูปที่ 5 : การติดตั้ง Control Rods (Tie Rods)

7. ข้อควรระวังอื่นๆ ในการติดตั้ง Flexible Connector

    • ให้ศึกษาการติดตั้งจากคู่มือการติดตั้ง และ Flexible Connector แต่ละยี่ห้อให้เข้าใจก่อนทำการติดตั้ง ทั้งแบบต่อแบบเกลียว และต่อแบบหน้าแปลน
    • ห้ามใส่ปะเก็นใดๆ ในการติดตั้งระหว่างหน้าแปลนของเส้นท่อกับหน้าแปลนยางของ Flexible Connector
    • ให้ทาสาร Graphite ให้ทั่วที่บริเวณหน้าแปลนยางก่อนทำการยึดกับหน้าแปลนของเส้นท่อ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าแปลนยางติดแน่นกับหน้าแปลนท่อ จนอาจเกิดความเสียหายในขณะกอด Flexible Connector ภายหลัง
    • การร้อย Bolt เพื่อยึด Flexible Connector กับหน้าแปลนของท่อ ต้องร้อยให้หัว Bolt อยู่ด้าน Flexible Connector และให้ Nut อยู่ด้านหน้าแปลนท่อ เพื่อป้องกันมิให้ยางเสียหายในขณะที่ Flexible Connector เบ่งตัวออกเมื่อมีความดันของระบบ ดูรูป



รูปที่ 6 : การร้อย Bolts, Nuts และ Washers ที่ถูกต้อง
    • หากเป็นท่อน้ำร้อน ไม่ต้องหุ้มฉนวนบริเวณ Flexible Connector ( ไม่รวมท่อ Steam) เพราะอาจเป็นที่สะสมความร้อนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อ Flexible Connector ได้
    • ไม่ควรติดตั้ง Flexible Connector ในเส้นท่อที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง (Direct Sunlight) แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องหุ้มห่อ Flexible Connector ด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนและแสงแดดได้ เช่น Fiberglass ที่มี Aluminium Foil เป็น Vapor Barrier ทับหลัง เป็นต้น ดังรูป



รูปที่ 7 : การติดตั้ง Flexible Connector ที่อยู่กลางแจ้ง
    • Bolts, Nuts และ Washers ที่ใช้กับท่อ Chilled Water และท่อ Condenser ที่อยู่ภายนอกอาคารควรใช้ชนิดที่ทำด้วยวัสดุ Stainless Steel เพื่อป้องกันการเกิดสนิมในระยะยาว ดังรูป

รูปที่ 8 : Bolts, Nuts และ Washers ของท่อ Chilled Water ที่ไม่ได้ใช้วัสดุที่ทำจาก Stainless Steel
    • ในขณะทำการเชื่อมหน้าแปลนเข้ากับท่อน้ำต้องถอดเอา Flexible Connector ออกก่อน มิฉะนั้นความร้อนจากการเชื่อมจะทำให้ยางเสียหาย และหากจำเป็นต้องมีการเชื่อมท่อหรืออื่นๆ ที่อยู่เหนือ Flexible Connector ต้องหาแผ่นสังกะสี หรืออื่นๆ มาวางบน Flexible Connector เพื่อมิให้สะเก็ดไฟจากการเชื่อมตกลงมาที่ยางได้โดยตรง ดังรูป



รูปที่ 9 : การป้องกันสะเก็ดไปเชื่อมลงบน FlexibleConnector


 

            การติดตั้ง Pressure Gauges ที่ถูกต้อง
Sheet No. : TR-GE-11 
   December 08
 

 

โดยทั่วไป Pressure Gauges หรือที่เรียกกันในภาษาช่างว่า “เกจ์วัดความดัน” จะติดตั้งบนงานท่อน้ำของเครื่องจักรหลัก เช่น เครื่องสูบน้ำ, เครื่องทำน้ำเย็น, เครื่องเป่าลมเย็น และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน หน้าที่สำคัญของ Pressure Gauges ได้แก่

  1. ใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรหลักที่ทำหน้าที่สร้างแรงดันของไหลในระบบ ซึ่งได้แก่ เครื่องสูบน้ำ (Water Pump), เครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler), เครื่องอัดอากาศ (Air-Compressor) ฯลฯ เป็นต้น
  2. ใช้วัดความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ของเครื่องจักรหลักที่เป็นภาระ (Load) ของระบบต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller), เครื่องเป่าลมเย็น (Air-Handling Unit) ฯลฯ เป็นต้น

การติดตั้ง Pressure Gauges ที่ถูกต้องให้เป็นไปดังนี้



รูปที่ 1 : การติดตั้ง Pressure Gauges ของเครื่องสูบน้ำแบบ End Suction

 

  1. จากรูปที่ 1 เป็นการติดตั้ง Pressure Gauge ของเครื่องสูบน้ำแบบ End Suction ซึ่งจะให้ข้อควรรู้ ดังนี้

    • จะต้องติดตั้ง Pressure Gauges ทั้ง 2 ด้าน คือด้าน Suction และด้าน Discharge
    • ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่บริเวณหน้าแปลนของเครื่องสูบน้ำ ซึ่งโรงงานผู้ผลิตได้เจาะรูและอุดปลั๊กมาให้แล้ว ห้ามติดตั้งหลังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Flexible Connectors หรือ Valves โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ค่าความดันที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปวัดความดันรวม ความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ของอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ด้วย
    • ต้องจัดทิศทางของหน้าปัทม์ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการอ่านค่าความดัน
    • สเกลของ Pressure Gauge ที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับ Working Pressure ของระบบ ตำแหน่งเข็มของ Pressure Gauge ขณะใช้งานควรอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง 60% ของสเกล
    • สเกลของ Pressure Gauge ด้าน Suction ควรจะมีสเกล Vacuum Pressure อยู่ด้วย โดยเฉพาะท่อ Suction ที่อยู่ต่ำกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ มิฉะนั้นแล้วในขณะที่เริ่มงานค่าความดันด้าน Suction อาจมีค่าต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งหากไม่มีสเกล Vacuum Pressure อาจจะทำให้เข็มของ Pressure Gauge กระแทกหมุดกั้นทำให้ชำรุดเสียหายได้
    • ต้องติดตั้งท่อ Drain ไว้ด้วยเพื่อทำหน้าที่ Drain น้ำออกจากตัว Pressure Gauges หลังจากอ่านค่าแล้ว ไม่ควรให้ Pressure Gauges ทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องสูบน้ำทำงาน เพราะจะทำให้ Pressure Gauges มีอายุงานสั้นลง
    • ในระบบน้ำร้อนหรือไอน้ำต้องใส่ Siphon หรือไส้ไก่ก่อนเข้า Pressure Gauge ด้วย
    • หากความดันในระบบมีค่าสูงมาก หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าความดันตลอดเวลา ควรเลือกใช้ Pressure Gauge แบบ Oil-Filled ซึ่งจะหน่วงการทำงานของเข็มของ Pressure Gauge มิให้ขึ้น-ลง เร็วเกินไป
    • ไม่ควรติดตั้ง Pressure Gauge บนหลังท่อ โดยเฉพาะท่อน้ำที่ติดตั้งในแนวนอน เพราะหากน้ำในท่อไม่เต็มท่อ จะทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง ควรติดด้านข้างของท่อเท่านั้น ส่วนท่อที่ติดตั้งในแนวดิ่งจะไม่เกิดปัญหานี้แต่ประการใด แม้กระทั่งที่เครื่องสูบน้ำด้าน Suction (ดูรูป) ผู้ผลิตได้เจาะไว้ที่ด้านข้างของหน้าแปลนเช่นกัน เพื่อป้องกันการอ่านค่าไม่ถูกต้อง

     



    รูปที่ 2 : การติดตั้ง Pressure Gauges ของท่อ Condenser Supply และ Condenser Return ของเครื่องทำน้ำเย็น

     

  2. จากรูปที่ 2 เป็นการติดตั้ง Pressure Gauge ของท่อ Condenser Supply และ Condenser Return ของเครื่องทำน้ำเย็น ซึ่งจะให้ข้อควรรู้ดังนี้
    • จะต้องติดตั้ง Pressure Gauges ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้าน Supply และด้าน Return
    • ตำแหน่งที่ติดตั้งอยู่ข้างท่อที่ต่อออกมาจาก Condenser ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตได้เจาะรูและอุดปลั๊กมาให้แล้ว ห้ามติดตั้งหลังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Flexible Cnnectors หรือ Valves โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ค่าความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปวัดความดันตกคร่อมของอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ด้วย ทำให้การ Balance น้ำผิดไปจากความต้องการ
    • ต้องจัดทิศทางของหน้าปัทม์ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการอ่านค่าความดัน
    • สเกลของ Pressure Gauge ที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับ Working Pressure ของระบบตำแหน่งเข็มของ Pressure Gauge ขณะใช้งานควรอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง 60% ของสเกล
    • ต้องติดตั้งท่อ Drain ไว้ด้วยเพื่อทำหน้าที่ Drain น้ำออกจากตัว Pressure Gauges หลังจากอ่านค่าแล้ว ไม่ควรให้ Pressure Gauges ทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องทำน้ำเย็นทำงาน เพราะจะทำให้ Pressure Gauges มีอายุงานสั้นลง
    • ไม่ควรติดตั้ง Pressure Gauge บนหลังท่อ โดยเฉพาะท่อน้ำที่ติดตั้งในแนวนอน เพราะหากน้ำในท่อไม่เต็มท่อ จะทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง ควรติดด้านข้างของท่อเท่านั้น ส่วนท่อที่ติดตั้งในแนวดิ่งจะไม่เกิดปัญหานี้แต่ประการใด แม้กระทั่งรูที่ท่อของเครื่องทำน้ำเย็น (ดูรูป) ผู้ผลิตได้เจาะไว้ที่ด้านข้างของท่อเช่นกัน เพื่อป้องกันการอ่านค่าไม่ถูกต้อง

 

            การวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคาน
Sheet No. : TR-GE-10 
   August 08  

 

ในการจัดทำ Combined Drawing บางบริเวณอาจเกิดความยุ่งยากในการจัดแนวท่อน้ำ, ท่อลม, ท่อร้อยสายไฟฟ้า รวมถึง Wireway เนื่องจากมีข้อกำจัดในด้านความสูงของพื้นที่ใช้สอย เช่น บริเวณที่จอดรถ, บริเวณห้องเครื่อง, บริเวณห้องน้ำ หรือแม้กระทั่งบริเวณสำนักงาน

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาอาจดำเนินการได้หลายวิธี ทั้งการเปลี่ยนขนาดท่อลม, การทำ Offset หลบหลีกซึ่งกันและกัน และสุดท้ายหากไม่มีวิธีการอื่น ก็ต้องขอให้ทางสถาปนิกพิจารณาลดระดับฝ้าเพดาน ซึ่งอาจได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือไม่ก็ติดตั้งงานระบบดังกล่าวอย่างเบียดเสียดยัดเยียดจนแน่นไปหมด เป็นเหตุให้อาจเกิดปัญหาเรื่องการเข้าถึงอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษา

การติดตั้งท่อน้ำผ่านคาน
การติดตั้ง Wireway ผ่านคาน

วิธีการหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้ดำเนินการ คือ ขอให้ตรวจแบบงานโครงสร้างว่าในบริเวณดังกล่าวเป็นระบบพื้นและคานหรือไม่ ? หากเป็นระบบพื้นและคานที่มีความลึกของคานตั้งแต่ 400 มิลลิเมตร (16 นิ้ว) ขึ้นไปเราอาจใช้วิธีการวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคานเพื่อติดตั้งท่อน้ำ, ท่อลม, ท่อร้อยสายไฟฟ้า และ Wireway ขนาดที่เหมาะสมผ่านได้ เพื่อจะได้ลดความแออัดของบริเวณใต้คาน, การติดตั้งท่อ Offset และสามารถเพิ่มความสูงของพื้นที่ใช้สอยได้

การติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าผ่านคาน
การติดตั้ง Sleeve เผื่อไว้สำหรับใช้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการดังกล่าว ผู้ควบคุมงาน และผู้รับเหมาควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ต้องศึกษาแบบทั้งงานโครงสร้างและงานระบบแต่เนิ่นๆ เพื่อพิจารณากำหนดงานท่อต่างๆ ที่จะให้ผ่านคานดังกล่าว ก่อนที่ผู้รับเหมางานโครงสร้างจะทำการก่อสร้างงานในบริเวณนั้นๆ
  2. ต้องปรึกษาและขออนุมัติจากผู้ออกแบบงานโครงสร้างถึงความเป็นไปได้ในการวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคาน ทั้งในเรื่องขนาด และจำนวนที่จะวางในคานแต่ละตัว รวมทั้งการเสริมเหล็กโครงสร้าง
  3. โดยทั่วไปการวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคานจะวางในบริเวณกึ่งกลางคาน เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีเหล็กโครงสร้างน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
  4. หากเป็นไปได้ควรผ่าน Sleeve เป็น Spare จำนวนหนึ่ง เพื่ออาจจะสามารถใช้ในอนาคตได้
  5. งานที่ควรพิจารณาให้ติดตั้งผ่านคาน ได้แก่

    • ท่อน้ำระบบต่างๆ ได้แก่
      • ระบบป้องกันเพลิงไหม้
      • ระบบสุขาภิบาล (แต่ถ้าเป็นท่อระบายน้ำทิ้งควรระวังเรื่อง Slope ด้วย
    • ท่อร้อยสายไฟฟ้า
    • Wireway ขนาดเล็ก


       6.  ขนาดของ Sleeve หรือ Block Out ที่วางควรกำหนดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความสูงที่มากที่สุด ซึ่งต้องกำหนดโดยผู้ออกแบบงาน
            โครงสร้าง

 

            แนวทางในการตรวจสอบงานในสนาม โดย คุณประเสริฐ ปริมาณ
Sheet No. : TR-GE-09 
   June 08  

 

ดังจะเห็นได้ว่าแนวทางการตรวจงานในสนามของแต่ละระบบนั้นทุกๆ หน่วยงานจะมีมาตรฐานที่ไม่ค่อยจะเหมือนกัน ไม่ว่างานระบบใดๆ ก็ตาม ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ PROJECT HEAD หรือช่างเทคนิคอาวุโสนั้น จะตกลงกัน หรือถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ให้กับรุ่นน้อง หรือเพื่อนร่วมงานใหม่ ซึ่งสุดแล้วแต่ใครจะรับได้หรือไม่ เห็นด้วยโดยไม่มีข้อโต้แย้งก็มี แล้วต่างคนต่างปฏิบัติ

ในส่วนของแนวทางการตรวจงานในสนามที่จะเขียน ขอแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ของทุกระบบ ดังนี้คือ

  1. ก่อนการตรวจงานในสนามควรทำอย่างไรก่อน
  2. เมื่ออยู่ในสนามควรปฏิบัติตัวอย่างไร
  3. ควรพิจารณาการติดตั้งตามขั้นตอน
  4. การมองไกลให้ถึงอนาคต, ปัญหา อุปสรรค, สิ้นสุด และการซ่อมบำรุง
  5. การปฏิบัติตัว หรือการวางตัวกับโฟร์แมน หรือ PROJECT ENGINEER ของผู้รับเหมาในสนาม
  6. ตรวจงานอย่างไรในสนามให้ถูกกฏหมาย และปลอดภัย
  7. การตรวจงานในสนามอย่างไรให้เป็น “TEAM WORK”

ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเพื่อให้มองเห็นการทำงานในสนามให้เข้าใจยิ่งขึ้น ขอขยายความเป็นข้อๆ ดังนี้

  1. ก่อนการตรวจงานในสนามควรทำอย่างไรก่อน
    • ทำความเข้าใจกับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้รับเหมาได้รับการอนุมัติไปแล้วหรือยังไม่ได้อนุมัติ ในกรณีเริ่มงานใหม่ หรือการตกลงกันด้วยวาจาแล้วแต่กรณี
    • เมื่อเริ่มงานใหม่ ควรเชิญผู้รับเหมาของแต่ละระบบมาทำความเข้าใจ ตกลงวิธีการทำงานในรายละเอียดต่างๆ ว่าความต้องการร่วมกันในการติดตั้งจะเป็นอย่างไร
    • ศึกษาแบบโครงสร้าง และแบบสถาปัตยกรรมว่ามีอะไรขัดแย้งกับงานระบบ หรือทำให้งานระบบไม่สามารถติดตั้งได้ เช่น พื้นของโครงสร้างมีหลายระบบ ที่บางครั้งแตะต้องไม่ได้
    • ปรึกษาการทำงานของผู้ควบคุมงานโครงสร้าง และสถาปัตยกรรมถึงแนวทางการปฏิบัติ, ขั้นตอนการทำงาน, การตรวจสอบงาน, การเทคอนกรีต และ ฯลฯ
  2. เมื่ออยู่ในสนามควรปฏิบัติตัวอย่างไร

    • ควรเตรียมตัวให้พร้อมเรื่องเครื่องแต่งกาย เช่น รองเท้า Safety และหมวก Safety
    • ในที่นี้หมายถึงการตรวจงานในสนาม ควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน หมายถึงการแบ่งเวลาว่าเวลาใดจะตรวจงานในสนาม
    • การตรวจงานในสนามก่อนการเทคอนกรีต หรือตามใบแจ้งตรวจสอบของผู้รับเหมา ควรตรงต่อเวลา ถ้ามีงานที่เร่งด่วนกว่า ควรแจ้งผู้รับเหมาด้วย
    • ให้คำปรึกษาหรือชี้แนะโฟร์แมนของผู้รับเหมา ถ้าเห็นว่าทำไม่ถูกต้อง
    • พยายามหลีกเลี่ยงการ COMMENT กับช่างโดยตรง ถ้ายังไม่ได้รู้จัก หรือมีการตกลงกับหัวหน้างาน
    • ไม่ควรดูเฉพาะงานระบบที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ หากงานระบบอื่นที่ตนเองไม่ได้รับผิดชอบ แต่ผู้รับเหมาทำไม่ถูกต้อง ก็ควรแจ้งผู้รับผิดชอบของระบบนั้นๆ รับทราบ และแจ้งผู้รับเหมาดำเนินการต่อไป
    • สิ่งที่ขาดไม่ได้ควรมีสมุดฉีก หรือสมุดโน๊ตติดตัวเสมอ เวลาเดินตรวจงาน หากมีข้อแก้ไขจะได้จดบันทึกได้ ไม่ควรใช้วิธีจำ ซึ่งอาจจะลืมได้ นอกจากนี้ยังควรมีอุปกรณ์อื่น เช่น ไฟฉาย ตลับเมตร ฯลฯ เป็นต้น


  3. การพิจารณาการติดตั้งตามขั้นตอน

    • การติดตามงานตามโครงสร้าง
    • การติดตั้งงานตามสถาปัตยกรรม
    • การติดตั้งงานตามงานตกแต่งภายใน (ถ้ามี)
    • การติดตั้งงานตามขั้นสุดท้าย ก่อนส่งมอบงาน
    • การเตรียมการงานติดตั้งที่โรงงงาน หรือ WORK SHOP
    • ในกรณีเริ่มงานติดตั้งใหม่ ควรให้ผู้รับเหมาทำตัวอย่างการติดตั้งหรือทำการ MOCK UP ROOM เพื่อหาข้อสรุป ไม่ควรให้ติดตั้งไปมาก และแจ้งให้แก้ไขภายหลัง ซึ่งอาจเกิดความขัดแย้งขึ้น

  4. การมองไกล มองให้ถึงอนาคต, ปัญหา, อุปสรรค, สิ้นสุด และซ่อมบำรุง

    • การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของงานระบบนั้นต้องสอดคล้องกับงาน ข้อ 3.1 - 3.6 จงคิดไว้เสมอว่าปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ามีงานส่วนอื่นเกี่ยวข้อง
    • และที่สำคัญที่สุด ควรมองให้ครอบคลุมถึงการซ่อมบำรุงด้วยว่า ต่อไปช่างที่มาซ่อมบำรุงประจำจะแก้ไขซ่อมบำรุงได้หรือไม่ อย่างไร

  5. การปฏิบัติตัวหรือการวางตัวกับ โฟร์แมน หรือ PROJECT ของผู้รับเหมา

    • การที่จะทำความสนิทสนมกับบุคคลดังกล่าว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
    • ควรทำตัวให้เป็นที่ยอมรับเชื่อถือกับบุคคลดังกล่าว
    • ควรกำหนดการตรวจงานร่วมกับผู้รับเหมาในสนามเป็นประจำ อย่างน้อย อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง หรือแล้วแต่ความจำเป็น
  6. ตรวจงานอย่างไรในสนามให้ถูกกฏหมาย และปลอดภัย
    • ควรรู้และศึกษากฏหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างพอสังเขป หากพบสิ่งผิดปกติ ควรแจ้งให้ PROJECT HEAD ทราบทันที
    • การทำงานหรือการติดตั้งใดๆ ในหน่วยงาน ถ้าเห็นว่าไม่ปลอดภัยต้องแจ้งให้ PROJECT HEAD ทราบทันที
    • ในที่นี้รวมถึงมาตรฐานของงานวิศวกรรมด้วย เช่น NFPA , MEA ฯลฯ

  7. การตรวจงานในสนามอย่างไรให้เป็น TEAM WORK
 
T
-
TRUST
=
ไว้ใจกัน
 
E
-
EMPATHY
=
เห็นใจบ้าง
 
A
-
ASSISTANCE
=
พลางช่วยเหลือ
 
M
-
MUTUAL GOAL
=
เพื่อเป้าหมาย
 
W
-
WINNER
=
ให้บรรลุ
 
O
-
ORGANIZATION
=
มุร่วมมือ
 
R
-
REWARD
=
คือรางวัล
 
K
-
KIDDING
=
พลันผ่อนคลาย

ดังที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วนั้นถ้าทุกคนปฏิบัติตาม หรือนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็สามารถจะทำให้แนวทางการตรวจงานในสนามเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

            แนวทางในการตรวจสอบ เอกสารการเบิกเงินงวด โดย คุณธนา รัตนนาคินทร์
Sheet No. : TR-GE-08 
   June 08
 

 

การเบิกเงินงวด และงานเพิ่ม - ลด

ผู้รับเหมาต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมและส่งเอกสารขอเบิกเงินงวด และงานเพิ่ม - ลด ตามผลงานที่ได้ทำการติดตั้งแล้วเสร็จไปแล้วให้วิศวกรผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงานพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องเพื่อออกหนังสือ ” เอกสารรับรองการจ่ายเงิน (PAYMENT CERTIFICATE)” เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเบิกเงินจากเจ้าของโครงการต่อไป

  1. ลักษณะการเบิกเงินงวด

    โดยทั่วไปการเบิกเงินงวดจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

    • การเบิกเงินงวดเป็นรายเดือน ตามงานแล้วเสร็จจริง ซึ่งจะใช้กับโครงการเอกชนเป็นส่วนใหญ่
    • การเบิกเงินงวดตามผลงานที่ถูกกำหนดในสัญญา ซึ่งจะใช้กับโครงการของรัฐบาล และ/หรือ รัฐวิสาหกิจ

    อย่างไรก็ตามผู้ควบคุมงานต้องศึกษารายละเอียดลักษณะการเบิกเงินจากเอกสารเงื่อนไขตามสัญญาให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

  2. เอกสารอ้างอิง

    เอกสารอ้างอิงในการจัดเตรียมเอกสารขอเบิกเงินงวดที่หน่วยงานต้องมีไว้ใช้ มีดังนี้

    • เอกสารสัญญาพร้อมแบบคู่สัญญา เงื่อนไขตามสัญญา
    • บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาต่อหน่วย (BILL OF QUANTITIES & SCHEDULE OF RATES)
    • รายงานผลความก้าวหน้าในการทำงาน (PROGRESS REPORT) ประจำเดือน
    • เอกสารสั่งงานเปลี่ยนแปลง / เอกสารงานเพิ่ม - ลด ( VARIATION ORDER) ที่ได้รับการอนุมัติจำนวนเงินจากผู้มีอำนาจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (โดยปกติจะเป็นงานในโครงการเอกชนส่วนใหญ่ ส่วนโครงการรัฐบาล / รัฐวิสาหกิจ จะไม่มีการเบิกเงินงานเปลี่ยนแปลง เพราะยุ่งยากต่อการขออนุมัติการตั้งงบเบิก)

  3. หลักการเบื้องต้นในการเตรียมเอกสารการเบิกเงิน

    ในขั้นแรก ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานต้องทำการสรุปหลักการเบื้องต้น ในเรื่องดังต่อไปนี้

    • รูปแบบของเอกสาร ( FORMAT) ทั้งงานตามสัญญาและงานเปลี่ยนแปลง
    • จำนวนชุดของเอกสารทั้งสำหรับ FOR CHECK และตัวจริง
    • BACK-UP SHEET เช่น รายงาน, แบบฉบับย่อ ฯลฯ เป็นต้น
    • คาบเวลา ( PERIOD) ในแต่ละงวด (เฉพาะลักษณะการเบิกเงินงวดเป็นรายเดือน)
    • ลักษณะการแล้วเสร็จของงานที่เบิกได้
    • เบิกตามผลงานที่แล้วเสร็จจริง หรือสามารถเบิกค่าวัสดุที่นำเข้าหน่วยงานได้หรือไม่
    • เงื่อนไขการหักเงิน อันได้แก่
      • เงินประกันผลงาน (RETENTION MONEY)
      • เงินค่าจ้างเหมาล่วงหน้า (ถ้ามี)
      • เงินอื่นๆ ที่เจ้าของโครงการมีสิทธิ์หัก
    • การหักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
    • อื่นๆ (ถ้ามี)

  4. ขั้นตอนในการจัดเตรียมและส่งเอกสารการเบิกเงิน

ขั้นตอนในการจัดเตรียมและส่งเอกสารการเบิกเงินโดยทั่วไป จะเป็นดังนี้

    • ผู้รับเหมาต้องจัดส่งเอกสารฉบับ FOR CHECK ให้ผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงานตามเวลาที่กำหนดไว้
    • ผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงาน จะทำการพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาฉบับ FOR CHECK (ซึ่งอาจมีการแก้ไข) ให้ผู้รับเหมานำกลับไปดำเนินการจัดเตรียมเอกสารการเบิกเงินงวดฉบับจริง เพื่อจัดส่งให้ผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงานใหม่
    • หากเอกสารการเบิกเงินงวดฉบับจริงถูกต้องแล้ว ผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงาน จะออกหนังสือ “ เอกสารรับรองการจ่ายเงิน (PAYMENT CERTIFICATE)” ให้เพื่อนำไปเป็นเอกสารอ้างอิงการเบิกเงินจากเจ้าของโครงการต่อไป

หมายเหตุ : เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาเอกสารการเบิกเงินงวด ควรมีข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมเอกสารการเบิกเงินงวด ดังนี้

    1. ส่งเอกสารฉบับ FOR CHECK และรายงานความคืบหน้าของโครงการพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนดกันไว้ เพราะหากละเลยอาจทำให้การเบิกเงินของผู้รับเหมาล่าช้าออกไป ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการรักษาสภาพคล่องเงินสด (CASH FLOW) ของผู้รับเหมาเอง อาจทำให้เกิดการสะดุดของเงินที่ต้องชำระให้ SUPPLIER และ/หรือ SUB-CONTRACTOR เป็นผลให้ความคืบหน้าของโครงการอาจเกิดปัญหาและล่าช้าออกไป
    2. จัดแยกหมวดงานเพิ่ม - ลด ในท้ายเอกสารการเบิกเงินงวดต่างหาก ถึงแม้ว่าจะเป็นรายการซ้ำกันกับรายการในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาต่อหน่วย (BILL OF QUANITITIES & SCHEDULE OF RATE) ก็ตาม โดยต้องจัดทำใบปะหน้าสรุปผลรวมของจำนวนเงินที่เบิกทั้งในงานตามสัญญา และงานเพิ่ม - ลด ให้ชัดเจน
    3. ในส่วนงานเพิ่ม - ลด ต้องรีบดำเนินการเร่งรัดให้ผู้รับเหมา ส่งเอกสารการขออนุมัติราคางานเพิ่ม -ลด ตามขั้นตอนที่สรุปกันไว้กับผู้บริหารโครงการ / ผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ผู้มีอำนาจทำการอนุมัติก่อนการเบิกเงิน มิฉะนั้นจะไม่สามารถเบิกเงินได้ และหากสะสมไว้หลายๆ ฉบับเป็นเวลานานๆ เวลาที่ใช้ในการเตรียม, พิจารณาและอนุมัติราคาอาจเกิดปัญหาล่าช้า ซึ่งเป็นผลเสียกับโครงการโดยตรง บางครั้งอาจทำให้ไม่สามารถส่งมอบงานให้เจ้าของโครงการตามกำหนดการได้ ทำให้ถูกปรับเนื่องจากส่งมอบงานล่าช้า
    4. ในการจัดทำเอกสารการเบิกเงินงวด และงานเพิ่ม - ลด ควรปรับตัวเลขเงิน เป็นจำนวนเต็มในแต่ละหมวด หรือผลรวมทุกหมวด เพราะหากมีจำนวนเป็นเศษสตางค์แล้ว อาจทำให้ปัญหายุ่งยากในการคิดจำนวนเงินในหมวดค่าดำเนินการ, กำไร, ภาษี และอื่นๆ ซึ่งเป็น PERCENTAGE กับผลงานที่เบิกได้ (เกิดทศนิยมมากกว่า 2 ตำแหน่ง) อาจทำให้ผลรวมของเงินทั้งหมดในงวดสุดท้ายไม่ตรงกับจำนวนเงินในสัญญา ถึงแม้ว่าจะเป็นหน่วยสตางค์ก็ตาม

 

            แนวทางในการตรวจสอบ SHOP DRAWING และ COMBINE DRAWING
โดย คุณเทอดสกุล วิวิธวร
Sheet No. : TR-GE-07 
   June 08  

 

1. แนวทางในการตรวจสอบ SHOP DRAWING

ก่อนที่ผู้รับเหมาจะดำเนินการติดตั้งงานระบบประกอบอาคารบริเวณใดก็ตาม ผู้รับเหมาต้องส่ง SHOP DRAWING มาให้ผู้ควบคุมงานทำการพิจารณา ตรวจสอบ เพื่อขออนุมัติก่อนการติดตั้งเสมอ ดังนั้น ผู้ควบคุมงานจะต้องปรึกษากับผู้รับเหมาในเรื่องแผนการ และกำหนดการติดตั้ง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับกำหนดการแล้วเสร็จของงานโครงสร้าง และ/หรือ งานสถาปัตย์ด้วย

หากเป็นไปได้ทาง PROJECT HEAD ควรกำหนดพื้นที่ที่จะให้ผู้รับเหมาแต่ละระบบส่ง SHOP DRAWING มาให้พิจารณาตรวจสอบในเวลาไล่เลี่ยกัน มิฉะนั้นแล้วเมื่อมีการติดตั้งหน้างานจริงอาจมีปัญหาเรื่องระดับการติดตั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาในการแก้ไขได้

ในพื้นที่ทั่วไปงานระบบประกอบอาคารจะมีทั้งระบบไฟฟ้า, ปรับอากาศและระบายอากาศ, สุขาภิบาล และป้องกันเพลิงไหม้ ซึ่งควรจะกำหนดระดับคร่าวๆ กันก่อน จะเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาการชนกันของงานระบบ โดยเฉพาะงานระบบที่อยู่ในฝ้าที่อาจมีพื้นที่จำกัดในการติดตั้ง

ในเบื้องต้น ผู้ควบคุมงานตรวจสอบประเภทของพื้น SLAB ของงานโครงสร้างว่าจะเป็นแบบ FLAT SLAB, POST TENSION, PRECAST ฯลฯ เป็น ต้น ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการยึด HANGER หรือ SUPPORT จะแตกต่างกัน ซึ่งต้องปรึกษาผู้ควบคุมงานทางด้านงานโครงสร้างด้วย

หลังจาก SHOP DRAWING ของงานระบบทุกระบบได้รับพิจารณา และอนุมัติให้ติดตั้งได้ ผู้ควบคุมงานควรจัดลำดับการทำงานติดตั้งก่อน - หลัง ให้กับผู้รับเหมาแต่ละระบบ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการติดตั้ง เช่น การหาผู้รับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้น หรือการ CLEAR ความสะอาดต่างๆ ซึ่งมักจะเกี่ยงกันดำเนินการ ฯลฯ เป็นต้น

แนวทางในการตรวจสอบ SHOP DRAWING โดยกว้าง มีดังนี้

  • ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ จะต้องทำการศึกษาให้รู้ถึงแบบงานสถาปัตย์, แบบโครงสร้าง และรวมถึงงานระบบอื่นๆ ที่ตนเองมิได้รับผิดชอบอยู่ ทั้งนี้ เนื่องจากงานทุกส่วนจะต้องมีความสอดคล้อง และสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการติดตั้ง
  • ตรวจสอบความถูกต้องของ SHOP DRAWING และ CONTRACT DRAWING (DESIGN DRAWING) ว่าตรงกันหรือไม่ เช่น ในเรื่องขนาด, จำนวน, ตำแหน่งการติดตั้งต่างๆ เป็นต้น
  • ตรวจสอบแนวทาง (ROUTING) การเดินท่อน้ำ, ท่อร้อยสาย และอื่นๆ ว่าติดตั้งได้จริงตามแบบที่เสนอมาหรือไม่ โดยต้องดูแบบโครงสร้าง / สถาปัตย์ประกอบกัน
  • ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ว่าไปติดตั้งขวางกับประตู / หน้าต่าง / เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ หรือไม่ โดยต้องดูจากแบบสถาปัตย์ประกอบกัน
  • ตรวจสอบว่า PLAN LAYOUT ระหว่างแบบงานระบบ และแบบสถาปัตย์ ที่ก่อสร้างจริงตรงกันหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องการกั้นห้อง, SPACE ในฝ้า, ประเภทของฝ้า ฯลฯ เป็นต้น หากยังขัดแย้งกันต้องรีบปรึกษา เพื่อหาทางแก้ไขโดยทันที
  • ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบ SHOP DRAWING ที่จะทำการติดตั้งกับรายละเอียดที่ระบุในข้อกำหนดประกอบแบบ (SPECIFICATION) และ SINGLE LINE DIAGRAM / RISER DIAGRAM รวมทั้ง SCHEMATIC DIAGRAM หากขัดแย้งกันต้องรีบปรึกษากับผู้ออกแบบผ่านทาง PROJECT HEAD หรือ ADVISER
  • ตรวจสอบ ROUTING การเดินท่อต่างๆ ว่าจะต้องติดตั้งในพื้นคอนกรีต, ผนังก่อ หรือสามารถเดินลอย (EXPOSED) หากต้องติดตั้งในพื้นคอนกรีตต้องรีบตรวจกำหนดการเทปูน เพื่อผู้รับเหมาจะได้ดำเนินได้ทันท่วงที
  • ตรวจสอบขนาดช่อง SHAFT ที่ทำการติดตั้ง RISER ว่าเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งต้องดูว่า SHAFT ที่จะทำการติดตั้งงานระบบมีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างท่อน้ำต่างๆ กับท่อไฟฟ้าหรือไม่ หากมีปัญหาต้องรีบปรึกษาผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ไขโดยทันที
  • พิจารณาตรวจสอบให้มีช่องเปิด (ACCESS DOOR) ของงานฝ้าที่จำเป็นต้องมีการเข้าถึง เพื่อซ่อมแซม/บำรุงรักษาเครื่องจักร, วัสดุ, อุปกรณ์ต่างๆ
  • ในบางบริเวณอาจมีงานระบบหลายระบบอยู่ด้วยกัน ซึ่งอาจมีปัญหาในการติดตั้ง ควรให้ผู้รับเหมาทำแบบขยาย และ/หรือ ตัด SECTION เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในระหว่างการติดตั้ง
  • ข้อควรระวัง บางเรื่อง ได้แก่
    • ห้าม เดินท่อน้ำผ่านห้องไฟฟ้า, ห้องควบคุมทุกชนิด
    • ห้าม ติดตั้ง FITTING จำพวกยูเนี่ยนภายในฝ้ายิปซั่ม
    • ห้าม ติดตั้งเครื่องจักรใดๆ เช่น พัดลมระบายอากาศ ฯลฯ เป็นต้น บนฝ้าห้องควบคุมต่างๆ เช่น ห้อง SECURITY, ห้อง BAS ฯลฯ เป็นต้น
    • พยายามหลีกเลี่ยง การฝัง BOX ไฟฟ้าจำพวก OUTLET ในเสาคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสาคอนกรีตกลม หากเป็นไปได้ให้ย้ายไปติดตั้งที่ผนังแทน
    • ในการพิจารณา SHOP DRAWING ของห้องสุขา ควรมี SHOP DRAWING ของกระเบื้องดูประกอบด้วย
    • การวัดระยะต่างๆ ต้องอ้างอิงจาก GRID LINE เสมอ ห้ามอ้างอิงจากขอบผนังโดยเด็ดขาด

2. แนวทางในการตรวจสอบ COMBINE DRAWING

  • การทำแบบ COMBINE คือการนำแบบทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในโครงการทั้งหมด ทั้งแบบสถาปัตย์แบบโครงสร้าง แบบตกแต่งภายใน และแบบงานระบบทั้งหมดมาจัดทำให้อยู่ในแผ่นเดียวกัน เพื่อศึกษาและแก้ปัญหาในการติดตั้งงานในส่วนนั้น ผู้ที่จะทำแบบ COMBINE และผู้ที่จะตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และความเข้าใจในแบบสถาปัตย์, แบบโครงสร้าง แบบงานระบบทุกระบบพอสมควร สิ่งสำคัญประสบการณ์ในการผ่านงานเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะต้องสามารถนึกถึงสิ่งที่เป็นปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น นำมาประกอบในการจัดทำแบบ COMBINE ฉะนั้นในการจัดทำแบบ COMBINE ควรจะมีผู้เกี่ยวข้องทุกระบบเข้ามาปรึกษา และให้ข้อมูลในส่วนนั้นๆ หากมีปัญหาติดขัดในบริเวณใดก็จะต้องสามารถแก้ไขขนาด และรูปแบบของระบบต่างๆ ให้สามารถทำการติดตั้งงานระบบในส่วนบริเวณนั้นๆ ได้

การทำแบบ COMBINE ของงานระบบอาจแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ด้วยกัน

    • แบบ SLEEVE & BLACKOUT และแบบท่อที่ฝังในคอนกรีต
    • แบบงานท่อในส่วนต่างๆ ที่มีปัญหา
    • แบบจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีฝ้าเพดาน
    • แบบห้องเครื่อง

  • แบบ SLEEVE & BLACKOUT และแบบท่อที่ฝังอยู่ในคอนกรีต

ก่อนการติดตั้งสิ่งอื่นใดในโครงการ ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงานจะต้องศึกษาแบบโครงสร้าง และแบบระบบในส่วนที่จะต้องทำการฝังท่อ พร้อมทั้งทำแบบ SLEEVE & BLACKOUT รวมทั้งแบบท่อที่จะฝังในส่วนที่จะเทคอนกรีตก่อน การทำแบบควรจะมีการเตรียมงานแบบให้เสร็จก่อนกำหนดการเทคอนกรีตไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์

  • แบบงานท่อในส่วนต่างๆ ที่มีปัญหา

ในส่วนนี้ผู้ควบคุมงานจะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่างๆ หลายอย่าง ต้องเรียงลำดับความสำคัญของท่อ และอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ในกรณีที่ต้องจัดอุปกรณ์ที่อยู๋ในฝ้าเพดาน จะต้องพิจารณาท่อ ที่ต้องการความลาดเอียง ( SLOPE) เป็นส่วนแรก ว่าจะใช้พื้นที่ในการลาดเอียงเท่าใด ต่อจากนั้นก็มาพิจารณาส่วนอื่นๆ ประกอบโดยดูว่ามีท่อลมผ่านหรือไม่ มีท่อไฟฟ้า หรือ WIREWAY ผ่านหรือไม่ และยังต้องพิจารณาดวงโคมบริเวณนั้นๆ เป็นโคมแบบฝังหรือไม่ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ในฝ้าเพดานอีกประมาณ 15 ซม. อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะต้องเอามาพิจารณาพื้นที่ในฝ้าเพดาน และระดับคานต่างๆ ว่าจะสามารถผ่านได้หรือไม่ ส่วนในบริเวณที่ไม่มีฝ้าเพดานก็จะต้องคำนึงถึงความสูงของห้องโดยทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วจะต้องปรึกษาสถาปนิกว่าจะยอมให้ท่อต่ำสุดได้เท่าไร แล้วมาพิจารณาจัดท่อต่างๆ หากจัดไม่พอก็ต้องมีการต่อรองขอลดระดับกันต่อไป ข้อสำคัญ ถ้ามีการจัดท่อซ้อนกันหลายชั้นจะต้องคำนึงถึงการเข้าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ได้ด้วย และมองดูแล้วท่อต้องเรียงกันอย่างมีระเบียบ

เรื่องที่ควรคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง คือ บางพื้นที่ต้องมีความสูง (CLEAR HEIGHT) ไม่น้อยกว่าที่พระราชบัญญัติการควบคุมอาคารกำหนด เช่น บริเวณที่จอดรถ, ห้องน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

  • แบบการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ที่ฝ้าเพดาน

ในส่วนนี้เป็นการจัดตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องติดตั้งที่ฝ้าเพดาน เช่น ดวงโคม, หัว SPRINKLER, หัวจ่ายลม, SMOKE & HEAT DETECTOR และลำโพง เป็นต้น จัดแบบจะต้องคำนึงถึงความสวยงาม และความสมดุลย์ของอุปกรณ์ต่างๆ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ให้เสียงในเรื่องของการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น หัว SPRINKLER ต้องได้ระยะห่างตามมาตรฐานกำหนดไม่ให้ใกล้ หรือไกลเกินไป การจัดดวงโคมจะต้องได้ความสว่างเท่ากันทั่วบริเวณ

  • แบบห้องเครื่อง

ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องแบบห้องเครื่องต่างๆ เช่น ห้องเครื่องปรับอากาศ ห้องเครื่องสูบน้ำ ห้องเครื่องไฟฟ้า ผู้ที่จะทำแบบห้องเครื่องควรจะเป็นผู้ที่ความสามารถ และประสบการณ์ในการติดต้งของระบบนั้นๆ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะจัดอุปกรณ์ทั้งหมดให้เข้าไปอยู่ในห้องนั้นได้โดยที่ต้องมีพื้นที่ในการซ่อมแซม หรือขนย้ายออกเวลาเสียได้สะดวก ระดับท่อต้องไม่ต่ำลงมามาก ทำให้ไม่สามารถเดินเข้าไปตรวจสอบ และทำงานได้ ที่สำคัญอีกอย่างว่าจะติดตั้งอย่างไรแล้วให้ผู้ที่มาเห็นดูว่าสวยงาม เป็นระเบียบ ในส่วนนี้จึงต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และเห็นห้องเครื่องต่างๆ มาพอสมควร ข้อแนะนำประการหนึ่ง คือ การจัดตำแหน่งโคมไฟอาจไม่จำเป็นต้องจัดให้ SYMMETRY แต่ควรจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแสงสว่างในการตรวจสอบอ่านค่าต่างๆ และการบำรุงรักษา เช่น หน้าตู้ควบคุม, บริเวณเครื่องจักร ฯลฯ เป็นต้น

สรุป การทำแบบ COMBINE จะช่วยให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว การแก้ไขในแบบ COMBINE จะง่ายและประหยัดกว่าการที่จะต้องมาแก้ไขหน้างานจริง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งวัสดุ และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก


 

            แนวทางในการตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ โดย คุณภากร รัชฏสุวรรณ
Sheet No. : TR-GE-06 
   June 08
 

 

แนวทางในการตรวจสอบวัสดุ, อุปกรณ์

การเตรียมการก่อนการตรวจสอบวัสดุ, อุปกรณ์

  1. ศึกษารายละเอียดจากแบบ, รายละเอียดประกอบแบบ, TYPICAL DETAIL ต่างๆ
  2. ศึกษารายละเอียดจากเอกสารอนุมัติวัสดุ, อุปกรณ์ ที่ผู้ออกแบบได้พิจารณาอนุมัติ รวมถึงความเห็นและ NOTE ต่างๆ ด้วย
  3. พิจารณา SCHEDULE วัสดุ, อุปกรณ์ ที่จะเข้าหน่วยงาน
  4. ในกรณีที่เป็นวัสดุ, อุปกรณ์ ขนาดใหญ่ ต้องตรวจสอบขนาด น้ำหนักของเครื่องจักร, อุปกรณ์นั้นๆ เพื่อเตรียมสถานที่เก็บ รวมถึงศึกษาแนวทางในการขนส่งอุปกรณ์ไปยังสถานที่เก็บ หรือสถานที่ติดตั้ง สถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ขนาดใหญ่เหล่านี้ วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบเพื่อการรับน้ำหนักไว้แล้ว แต่เส้นทางที่จะนำไปยังสถานที่ติดตั้งนี้ มักไม่มีการเผื่อการรับน้ำหนักไว้ ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างประจำหน่วยงาน เพื่อเตรียมแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ล่วงหน้า
  5. อุปกรณ์บางชนิดที่ประกอบขึ้นมานอกหน่วยงาน หรือต้องทดสอบอุปกรณ์เหล่านั้น ก่อนเข้าหน่วยงานผู้ควบคุมงานควรไปตรวจสอบ และทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้ถูกต้อง ก่อนการเข้าหน่วยงาน

การตรวจสอบเมื่อวัสดุอุปกรณ์เข้าหน่วยงาน

  1. ตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปของวัสดุอุปกรณ์ที่เข้าหน่วยงาน
  2. ตรวจดูเอกสารที่ส่งมาพร้อมกับวัสดุอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ใบส่งสินค้า, ใบกำกับสินค้า, เอกสารแนะนำการติดตั้ง, TEST REPORT เป็นต้น
  3. ตรวจสอบข้อมูลใน NAME PLATE พร้อมทั้งบันทึกไว้เปรียบเทียบกับที่ได้อนุมัติใช้ก่อนแล้วว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่
  4. วัสดุที่ใช้เครื่องมือวัดได้ ให้ตรวจวัดโดยสุ่มตรวจเทียบกับที่มาตรฐานผลิตนั้นๆ
  5. ตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ว่าส่งมาพร้อมกันหรือไม่
  6. ในกรณีเป็นอุปกรณ์เดียวกัน แต่มีหลายรุ่น หลายขนาด เมื่อตรวจสอบแล้ว ควรให้ติดเครื่องหมายหรือเลขที่ตามแบบกำกับไว้ เพื่อกันการสับสน แล้วนำไปติดตั้ง
  7. ตรวจสอบสถานที่เก็บและการป้องกันวัสดุอุปกรณ์นั้นๆ


 

            การติดตั้ง Valve Tag
Sheet No. : TR-GE-05 
   March 08
 

 

Valve Tag ชนิดต่างๆ

Valve และ Instrument ทางด้านท่อน้ำและท่อลมทุกตัวจะต้องติดตั้ง Valve Tag เพื่อเป็นการระบุรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการ Operate และ Maintenance ของผู้ปฏิบัติงานของโครงการ ดังนั้น ก่อนส่งมอบงานประมาณ 2-3 เดือน ผู้ควบคุมงานควรสรุปกับผู้รับเหมาเกี่ยวกับรายละเอียดการจัด Valve Tag อันประกอบด้วย

  1. ชนิดของวัสดุรวมทั้งรูปร่างและขนาด,โซ่คล้อง (chain) และตะขอ (hook) โดยเฉพาะบริเวณที่มีความชื้นและการกัดกร่อนสูง

  2. สีของ Valve Tag ควรแยกสีตามระบบท่อน้ำ / ท่อลมที่ใช้

  3. รายละเอียดต่างๆ บนแผ่นป้าย

    • ชื่อระบบ
    • ตำแหน่งหรือสถานที่ติดตั้ง
    • ชนิดของ Valve หรือ Instrument
    • ระบุการปิด-เปิดการทำงานในสภาวะปกติ (N.O. = Normally Open หรือ N.C. = Normally Closed)

  4. ในงานโครงการประเภทโรงงานจะต้องดู P&ID Diagram ประกอบในการจัดทำ Valve Tag แต่ถ้าเป็นโครงการทั่วไป ซึ่งอาจไม่มี P&ID Diagram เราจะต้องให้ผู้รับเหมาจัดทำร่างแบบ Schematic Piping (หรือ Ducting) Diagram ตามที่ติดตั้งจริง (As-Buit) เพื่อกำหนดรายละเอียดของ Valve Tag โดยเฉพาะหมายเลขของ Valve และ Instrument

  5. หากเป็นโครงการที่มี Valve Tag อยู่เดิม (Existing Building) ควรขอคำแนะนำหรือขอตัวอย่างเดิมจากตัวแทนเจ้าของโครงการเพื่อให้ผู้รับเหมาจัดทำ Valve Tag ให้คล้ายกับของเดิมทั้งตัว Tag โซ่ และตะขอ

  6. หากมีอุปกรณ์ (Valve และ Instrument) จำนวนมาก ก็อาจให้ผู้รับเหมาจัดทำ Valve Tag ของอุปกรณ์แต่ละชนิดตามจำนวน Valve / Instrument ที่มีอยู่ใน B.O.Q. มาก่อนที่จะกำหนดตำแหน่งใน Diagram ก็ได้ เพราะ Valve Tag จะมีขนาดและรูปร่างเหมือนกันหมด ไม่ขึ้นกับขนาดของ Valve จะได้ไม่เสียเวลามากในการไปสั่งทำภายหลัง
ตัวอย่างการติดตั้ง Valve Tag


Top  | มีข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นสามารถเข้าไป post ที่ web board

 

            การติดตั้ง Strainer ในแนวนอน
Sheet No. : TR-GE-04 
   March 08  

 

ควรติดตั้งแนวไส้กรองอยู่ใต้แนวท่อ
ไม่ควรให้มาอยู่ข้างท่อตามรูป

ในระบบสุขาภิบาล และป้องกันอัคคีภัย การต่อท่อ Suction เข้าเครื่องสูบน้ำมักจะต่อแนวนอนจาก Storage Tank ไปยังเครื่องสูบน้ำ ซึ่งต้องติดตั้ง Strainer เพื่อทำหน้าที่กรองสิ่งแปลกปลอมมิให้เข้าไปในเครื่องสูบน้ำ การติดตั้ง Strainer จะต้องติดตั้งให้ไส้กรอง (Screen) ของ Strainer อยู่ใต้แนวท่อ เพื่อให้กรองสิ่งแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด แต่บางครั้งผู้รับเหมามิได้ตรวจสอบระยะที่ต้องเผื่อไว้จากปลาย Strainer ถึงระดับพื้น เพื่อให้ถอดไส้กรอง (Screen) ออกมาล้างได้ จึงทำการติดตั้งไส้กรอง (Screen) ให้มาอยู่ข้างท่อ ทำให้ไม่สามารถกรองสิ่งแปลกปลอมได้หมดจด อีกประการหนึ่งการติดตั้ง Pipe Support ของท่อน้ำที่อยู่ระหว่าง Strainer กับเครื่องสูบน้ำก็มักจะใช้ Support รองรับท่อแบบท่อเดี่ยวอยู่ในแนวเดียวกับท่อน้ำ ทำให้ไม่สามารถจะถอดตะแกรง (Screen) ออกมาล้างได้ เพราะติด Support

ดังนั้น ในการตรวจสอบ Shop Drawing เราควรดำเนินการกำชับผู้รับเหมา ดังนี้

  1. ให้ตรวจสอบระยะที่ต้องเผื่อไว้จากตำแหน่ง Top Level ของไส้กรอง (Screen) ของ Strainer ถึงระดับพื้น (withdrawal distance) จาก Catalog ของ Strainer และอาจจะต้องเผื่อระยะเพิ่มขึ้นสำหรับ Strainer ที่มีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 2 1/2 "Ø ขึ้นไป เนื่องจากที่ฝาของ Strainer จะต้องติดตั้งท่อสั้นๆ (ประมาณ 100 มม.) พร้อมใส่ Gate Valve และ Cap การปรับระยะความสูงควรใช้วิธีเพิ่มความสูงของแท่นหรือ Base Plate ของเครื่องสูบน้ำ แต่ถ้าต้องติดตั้ง Inertia Block ปัญหานี้อาจไม่เกิดขึ้น

  2. เน้นให้ติดตั้ง Pipe Support เป็นแบบเหล็กราง เชื่อมเป็น Frame ติดตั้งคร่อมระหว่างท่อ จะได้มีช่องว่างเพื่อถอดตะแกรง (Screen) ของ Strainer ออกมาล้างได้

 

            ข้อควรรู้เรื่อง Bolt, Nut, Washer
Sheet No. : TR-GE-03 
   October 07 

 

  1. โดยปกติ ผู้ออกแบบจะกำหนดให้ผู้รับเหมาใช้ Bolt, Nut, Washer ชนิด Non-Corrosive Material ผู้ควบคุมงานควรต้องให้ผู้รับเหมาส่งตัวอย่างให้อนุมัติแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้น ผู้รับเหมาที่มักง่ายอาจใช้แบบที่เป็นสนิมได้ง่าย ซึ่งจะเป็นปัญหาการถอดในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ใช้ในระบบ Chilled Water จะเกิดการผุกร่อนได้ง่ายมาก วัตถุที่ใช้ควรเป็นชนิด Cadmium Plate, เหล็กชุบขาว หรือในที่มีความผุกร่อนสูง ควรใช้ชนิด Stainless Steel ไม่ควรใช้แบบ Galvanized Steel เพราะก่อนใช้ต้องนำมาล้างเกลียว มิฉะนั้น จะขันลำบาก ทำให้วัสดุที่ชุบหลุด ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

  2. หลังจากขันจนแน่นแล้ว ควรมีเกลียวของ Bolt ยื่นออกมาเพียง 2-3 เกลียวตามรูป

    ใช้ Bolt ที่สั้นเกินไป
    ความยาวของ Bolt ที่เหมาะสม

  3. การใส่ Washer ควรจะใส่ทางด้าน Nut เพียงด้านเดียวตามรูป

    ลักษณะการใส่ Washer ที่ถูกต้อง และการใส่ Bolt
    ควรใส่เข้าทางด้านอุปกรณ์

  4. หากต้องการการยึดแน่นเป็นพิเศษ เช่น ในกรณียึดแท่น Motor, Pump Etc. ตัว Washer ที่ใช้ให้ใช้เป็นแบบ Spring Washer

  5. การใส่ Bolt ควรใส่เข้าทางด้าน Valve, อุปกรณ์ และถ้าหน้าแปลนของ Valve หรืออุปกรณ์นั้นเป็นหน้าแปลนแบบมีเกลียวอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Nut และ Washer หากไม่สามารถร้อย Bolt เข้าทางด้านหัว Valve บางยี่ห้อได้ ให้ใช้ Strut Bolt (เหล็กเกลียว) พร้อม Washer และ Nut แทนตามรูป
ลักษณะของ Strut Bolt ต้องใส่ Washer ที่ Nut ทั้ง 2 ด้าน

 

            ข้อควรระวังในการจัดทำ Header
Sheet No. : TR-GE-02 
   October 07 

 

ลักษณะของ Header โดยทั่วไป

การติดตั้ง Header ในงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร เช่น Supply-Return Header ในระบบปรับอากาศ หรือ Fire Protection Header ในระบบป้องกันอัคคีภัย ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ตรวจสอบปริมาณและขนาดของท่อที่แยกไปตามโซนต่างๆ ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดความยาวของ Header หัว-ท้าย Header ควรมีระยะ clear จากผิวท่อแยกถึงหน้าแปลนของปลาย Header ไม่น้อยกว่า 300 มม.

  2. ท่อแยกของ Supply Header ต้องมีจำนวนและขนาดเท่ากับท่อแยกของ Return Header ในระบบปรับอากาศเสมอ

  3. ตัว Header ควรเป็นท่อต่อเนื่อง ห้ามใช้เศษท่อมาเชื่อมโดยเด็ดขาด แต่หาก Header ยาวเกิน 6,000 มม. หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่มาก ผู้รับเหมาอาจเสนอขอใช้ Spiral pipe แทน ซึ่งควรปรึกษาผู้ออกแบบก่อน เพราะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ, ความดัน, ชนิดของของเหลวด้วย

  4. อย่าลืมเผื่อที่สำหรับใส่ท่อ Drain, ท่อสำหรับ Automatic Air Vent, ท่อสำหรับใส่ Instrument ต่างๆ เช่น Pressure Gauge, Thermometer, Sensor หรือ Transmitter ต่างๆ ฯลฯ โดยต้องศึกษาจากแบบ Piping Schematic Diagram ของแบบงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารแต่ละระบบในโครงการ

  5. ระยะห่างจากท่อถึงท่อ ต้องเผื่อเนื้อที่สำหรับหน้าแปลนวาล์ว, ฉนวนหุ้ม, Jacket เพราะหากไม่เผื่อเนื้อที่ จะไม่สามารถติดตั้งให้ Center ของวาล์วอยู่ในแนวเดียวกันได้ตามรูปข้างต้น จำเป็นต้องติดตั้งวาล์วในลักษณะฟันปลา มิฉะนั้นจะหุ้มฉนวนและใส่ Jacket ไม่ได้

  6. ในกรณี Supply Header กับ Return Header อย่าลืมหุ้มฉนวนที่ขาตั้ง Header ด้วย แต่ความหนาฉนวนไม่จำเป็นต้องเท่ากันกับฉนวนที่หุ้ม Header เพราะท่อที่ใช้ทำขาตั้ง ไม่มีน้ำอยู่อีกประการหนึ่ง ขาตั้ง Header ควรตั้งอยู่บนเต้าปูนสูงประมาณ 150 มม. ไม่ควรตั้งอยู่บนพื้นห้องโดยตรง เพราะอาจมีโอกาสสัมผัสกับน้ำที่ล้างห้องเครื่อง ทำให้ผุกร่อนได้ง่าย

  7. ระดับ Center ของวาล์ว ควรกำหนดให้สูงจากระดับพื้นห้อง (After Finished Floor : AFF) ประมาณ 1,800 มม. ซึ่งเป็นระดับที่ทำการปิด-เปิดวาล์วได้สะดวก

  8. หากวาล์วที่ใช้เป็น Ball Valve หรือ Butterfly Valve ที่ปิด-เปิดโดยใช้ก้านโยก (Lever Operated) อย่าลืมเผื่อที่สำหรับก้านโยกในตำแหน่งปิดด้วย เพราะท่อแยกที่ใช้วาล์วดังกล่าวมักจะเป็นท่อขนาดเล็ก แต่หากเกิดปัญหาขึ้น และไม่อยากแก้ท่อ ก็อาจเปลี่ยนมาใช้ Gate Valve แทนก็ได้

  9. มาตรฐาน (Standard) ของหน้าแปลนที่ติดตั้งที่ปลาย Header ทั้งสองข้างควรใช้ไม่เกิน 1.5 เท่าของ Pressure Rating หากใช้เกินมาตรฐานมากไป เวลาเปิด-ปิด Header เพื่อทำความสะอาดจะยุ่งยากมาก เพราะต้องขัน Bolts กับ Nuts มากเกินไป

  10. การตั้ง Header ไม่ควรให้ชิดฝาผนังห้องมากเกินไป เพราะอาจทำงานไม่สะดวก ทั้งการหุ้มฉนวน, หุ้ม Jacket หรือทาสีในภายหลัง

 

 

            ขั้นตอนและข้อควรระวังในการจัดทำ Combined Drawing
         ของงานวิศวกรรมระบบเหนือฝ้าเพดาน
Sheet No. : TR-GE-01 
   September 07 


การจัดทำ Combined Drawing ของงานวิศวกรรมระบบเหนือฝ้าเพดานซึ่งจะใช้เป็นแนวทางให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร ทำการติดตั้งงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการประสานงานและประสบการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งผู้ออกแบบ ผู้บริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานรวมทั้งผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร โดยทั่วไปการประสานงานในการจัดทำ Combined Drawing ควรจะมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ตอนออกแบบ ซึ่งต้องอาศัยเวลาและผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์ แต่เนื่องจากในปัจจุบันระยะเวลาในการออกแบบของแต่ละโครงการจะมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นผู้ที่รับภาระในการจัดทำ Combined Drawing มักจะตกอยู่กับคณะทำงานที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้าง อันได้แก่ ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมา หากโครงการใดการจัดทำ Combined Drawing เป็นไปด้วยดี การเกิดข้อผิดพลาดหรือความขัดแย้ง (Obstruction) ในการติดตั้งงานต่างๆ จะลดน้อยลง ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการ Operate และบำรุงรักษาของเจ้าของโครงการนั่นเอง แต่ตรงกันข้ามหากโครงการใดมีการจัดทำ Combined Drawing ที่ไม่ดีพอก็อาจมีโอกาสเกิดความขัดแย้งในขณะที่ทำการติดตั้งงานเหนือฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นผลให้บางโครงการต้องสูญเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้งดังกล่าว นอกจากนี้ยังอาจเกิดความยุ่งยากในการใช้งานภายหลังของเจ้าของโครงการด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

ตัวอย่างความยุ่งยากหรือปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการวางแผนหรือการประสานงานที่ดีในการจัดทำ Combined Drawing เหนือฝ้าเพดาน เช่น

  1. กล่องต่อสาย ( Junction Box) ของงานระบบไฟฟ้าถูกงานท่อลมมาปิดทับจนไม่สามารถจะทำการลากสายไฟฟ้า (Wiring) ได้
  2. ตำแหน่งหัว Sprinkler แบบ Pendant อยู่ใต้ท่อลมขนาดใหญ่จนไม่สามารถจะทำการ Offset ท่อหรือเชื่อมท่อน้ำดับเพลิงหรือใส่ Support ได้

    ท่อ Sprinkler ไม่ควรอยู่ใต้ท่อลมเพราะติดตั้ง Support ยาก

  3. ดวงโคมไม่ว่าแบบ Down Light หรือ Fluorescent ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะไม่ได้เผื่อเนื้อที่เหนือฝ้าเพดาน
  4. มีการถอด Support ของงานระบบอื่นๆ ออกเพื่อติดตั้งงานของตนเอง และไม่ใส่กลับคืน, เนื่องจากใส่ไม่ได้
  5. หัวจ่ายแบบ Linear Slot Diffuser ติดตั้งไม่ได้เพราะไม่มีเนื้อที่สำหรับแขวน Plenum
  6. แนว Main ของ Wireway, Cable Tray กับท่อลมอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้มีช่องว่างน้อยเกินไปในการถอดฝา Wireway หรือ Cable Tray ในภายหลัง

    Wireway อยู่ชิดติดกับแนวท่อลมมากเกินไป

  7. ตำแหน่ง Control Valve ต่างๆ ถูกบดบังจนไม่สามารถ Service หรือใช้งานได้
  8. Flexible Duct มีความยาวมากเกินความจำเป็น
  9. ท่อลม และ/หรือ พัดลมระบายอากาศเหนือฝ้าเพดานในห้องน้ำ (ที่มีงานท่อระบบสุขาภิบาลมากมาย) ไม่สามารถติดตั้งได้เพราะมีเนื้อที่ไม่เพียงพอ
  10. ไม่สามารถติดตั้งโครงคร่าวฝ้าเพดานตามระดับที่กำหนดในแบบได้ เพราะไม่ได้มีการเผื่อระดับของโครงคร่าวฝ้าเพดานในการจัดทำ Combined Drawing เหนือฝ้าเพดาน
  11. อื่นๆ ฯลฯ

การจัดทำ Combined Drawing ก่อนการติดตั้งจะเป็นวิธีที่ช่วยลดปัญหาความยุ่งยากดังกล่าวข้างต้นไม่มากก็น้อย โดยที่วิศวกร / ช่างเทคนิคหน้าสนามจำเป็นต้องศึกษาแบบและเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้าง เพื่อจัดทำ Combined Drawing ของงานวิศวกรรมระบบที่อยู่เหนือฝ้าเพดานทุกระบบเพื่อลดข้อผิดพลาดหรือความขัดแย้ง (Obstruction) / ความยุ่งยากในการติดตั้งให้เหลือน้อยที่สุด

การจัดทำ Combined Drawing ตามเอกสารนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ชนิดของฝ้าเพดานของงานสถาปัตยกรรมทั่วๆ ไป เช่น
    • ฝ้าเพดานชนิด T-Bar
    • ฝ้าเพดานชนิดฉาบเรียบ (วัสดุยิปซั่มบอร์ด)
    • ฝ้าเพดานชนิดตะแกรง (Grid Ceiling)
    • ฝ้าเพดานชนิดแถบอลูมิเนียม (Aluminium Strip)
    ฝ้าเพดานชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ส่วนใหญ่ส่วนใหญ่จะใช้ในงานตกแต่งภายใน ซึ่งอาจมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปจากที่ระบุข้างต้น

  2. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการประสานงานการจัดทำ Combined Drawing ได้แก่
    • ผู้ควบคุมงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารทุกระบบ
    • ผู้ควบคุมงานสถาปัตยกรรม / งานตกแต่งภายใน
    • ผู้ประสานงาน (Co-ordinator) ของผู้รับเหมา
    • ผู้รับเหมางานสถาปัตยกรรม (งานฝ้าเพดาน) / งานตกแต่งภายใน
    • ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารทุกระบบ
    • ผู้ออกแบบงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารทุกระบบ และงานสถาปัตยกรรม (ถ้าจำเป็น)
    • ตัวแทนเจ้าของโครงการ (ถ้าจำเป็น)

  3. ตัวอย่างประเภทของงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารที่ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน ได้แก่
    • งาน Raceway ต่างๆ เช่น ท่อร้อยสาย (Conduit), Wireway, Cable Tray, Junction Box ฯลฯ
    • ท่อน้ำรวมทั้งวาล์วในระบบปรับอากาศ, ป้องกันเพลิงไหม้, สุขาภิบาล (ทั้งน้ำดี น้ำเสีย) และอื่นๆ
    • เครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องเป่าลมเย็นทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก (Air Handling Unit : AHU & Fan Coil Unit : FCU), พัดลมระบายอากาศ
    • ท่อลมในระบบปรับอากาศ
    • อื่นๆ ฯลฯ
ตัวอย่างงานวิศกรรมระบบประกอบอาคารที่ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน

การจัดทำ Combined Drawing ควรเริ่มดำเนินการโดยผู้บริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มเข้าปฏิบัติงานในโครงการ และเจ้าของโครงการได้ว่าจ้างผู้รับเหมาครบถ้วนตามรายการผู้เกี่ยวข้องที่ระบุข้างต้นแล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ผู้จัดการโครงการ / หัวหน้าโครงการเป็นผู้ดำเนินการหรือมอบหมายให้วิศวกร / ช่างเทคนิคคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งควรมีความอาวุโสพอสมควร) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน (Co-ordinator) ในการจัดทำ Combined Drawing กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
  2. ผู้จัดการโครงการ / หัวหน้าโครงการ ทำการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมงานทั้งงานสถาปัตยกรรมในส่วนงานฝ้าเพดานและงานวิศวกรรมระบบทุกระบบให้กับวิศวกร / สถาปนิก / ช่างเทคนิก เพื่อให้ทำการศึกษาแบบของโครงการ โดยเฉพาะส่วนงานวิศวกรรมระบบที่อยู่เหนือฝ้าเพดาน ขณะทำการศึกษาควรใช้ดินสอสีระบายแนวท่อต่างๆ ให้ชัดเจนจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง
  3. ให้วิศวกร / ช่างเทคนิค ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประสานงานจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเริ่มการจัดทำ Combined Drawing

  4. ในการประชุมครั้งแรกควรประกอบวาระต่างๆ ดังนี้
    • กำหนดการจัดประชุมเพื่อจัดทำ Combined Drawing ของทั้งโครงการ
    • ชื่อ สกุล ของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อมสถานที่ติดต่อและเบอร์โทรศัพท์
    • (4.3) แบ่งจำนวนพื้นที่หรือบริเวณที่ต้องจัดทำ Combined Drawing ตามลำดับก่อนหลัง
    • คาบเวลาที่เหมาะสมในการประชุมเพื่อจัดทำ Combined Drawing ในแต่ละพื้นที่หรือบริเวณ เพื่อใช้อ้างอิงในการติดตามความก้าวหน้า โดยต้องสอดคล้องกับ Master Schedule ของผู้รับเหมาทุกราย

  5. ในการประชุมครั้งที่ (2) ให้ยึดถือตามลำดับพื้นที่ก่อนหลังที่ได้ตกลงกันไว้ใน (4.3) ข้างต้น โดยในแต่ละพื้นที่หรือบริเวณให้เริ่มขั้นตอน ดังนี้

    • ให้ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด ดังนี้
      • ประเภทฝ้าเพดานที่ติดตั้งในแต่ละบริเวณ
      • ลักษณะและทิศทางการติดตั้งแนวฝ้าเพดาน โดยเฉพาะฝ้าเพดานชนิด T-bar ที่มี Dimension เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ส่วนใหญ่จะมีขนาด 1,200 x 600 มม. หรือ 4 x 2 ฟุต) และฝ้าเพดานชนิด Aluminium Strip
      • ลักษณะและทิศทางการติดตั้งโคร่งคร่าวฝ้าเพดานทั้งโครงคร่าวหลัก (บางครั้งเรียกว่า “ กระดูกฝ้า” ) และโครงคร่าวย่อย โดยปกติแล้วผู้รับเหมางานฝ้าเพดานมักไม่ยอมให้ตัดโครงคร่าวหลัก เพราะจะต้องมาเสริมเหล็กแขวนในแนวที่ถูกตัด และ/หรือ บางครั้งหากทำไม่เรียบร้อยฝ้าเพดานบริเวณดังกล่าวอาจมีลักษณะแอ่น หรือที่เรียกว่า “ ตกท้องช้าง”
      • ระดับพื้นห้องที่ตกแต่งแล้ว (After Finished Floor : AFF) ถึงระดับฝ้าเพดานเป็นรายห้อง เนื่องจากบางโครงการห้อง 2 ห้องที่อยู่ติดกันอาจมีระดับ AFF ถึงระดับฝ้าเพดานต่างกัน เช่น ห้องประชุม ห้องรับรองห้องโถง หรือห้องประชุม ฯลฯ เป็นต้น

    • (5.2) ผู้ประสานงาน (Co-Ordinator) ในการจัดทำ Combined Drawing และผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบจะต้องตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นที่ในฝ้าเพดานจากแบบงานโครงสร้าง เพื่อชี้แจงข้อมูล ดังนี้
      • ระยะจากระดับฝ้าเพดานถึงท้องพื้น Slab ในแต่ละบริเวณ
      • ระยะจากระดับฝ้าเพดานถึงแนวคาน (ทั้งคานหลักและคานย่อย) ในแต่ละบริเวณรวมถึงแนวคานด้วย
      • ลักษณะความลึกและขนาด Drop Panel รอบเสา

    • (5.3) กำหนดให้ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานส่งแบบ Shop Drawing (ที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ควบคุมงานสถาปัตยกรรมแล้ว) ให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารไปดำเนินการลงตำแหน่ง Ceiling Fixtures Outlet และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตนเองรับผิดชอบให้ครบถ้วน (ลงในแบบ Shop Drawing ฝ้าเพดานแผ่นเดียวกัน) เพื่อจัดส่งให้ผู้ออกแบบ หรือผู้ควบคุมงาน วิศวกรรรมระบบประกอบอาคารพิจารณาเพื่ออนุมัติ
    • แบบ Shop Drawing ดังกล่าวใน (5.3) จะต้องประกอบด้วยรายละเอียดของงานติดตั้งแผ่นฝ้าเพดาน พร้อมแนวกั้นห้องต่างๆ ให้ครบถ้วน มิฉะนั้นแล้วการลงตำแหน่ง Ceiling Fixtures Outlet อาจผิดเพี้ยนไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน

    • Ceiling Fixtures Outlet หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ระบุใน (5.3) ได้แก่
      • งานระบบไฟฟ้า
        • ดวงโคมต่างๆ
        • ลำโพง
        • Detector ต่างๆ
        • Exit Sign / Emergency Light
        • ฯลฯ

      • งานระบบปรับอากาศ
        • หัวกระจายลม (ทั้ง Supply / Return)
        • Access Panel (เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน)
        • ฯลฯ

      • งานระบบป้องกันเพลิงไหม้
        • หัว Sprinkler
        • ฯลฯ

    • (5.6) หลังจากแบบฝ้าเพดานที่แสดงตำแหน่ง Ceiling Fixtures Outlet และอุปกรณ์ต่างๆ ได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานแจกจ่ายแบบดังกล่าวให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบทุกระบบนำไป Plot แบบร่างงานวิศวกรรมระบบต่างๆ ที่ต้องติดตั้งบนฝ้าเพดาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวท่อลม, ท่อน้ำ, Raceway หลักๆ ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อนำมาประชุมจัดแนวต่างๆ ร่วมกันต่อไป

  6. ในการประชุมครั้งที่ (3) จะต้องหาข้อสรุปในการแบ่งระดับ และ/หรือ แนวทางการติดตั้งงานวิศวกรรมระบบต่างๆ ที่ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบได้นำร่างที่ตนเอง Plot ในแบบตาม (5.6) ข้างต้นมาชี้แจงในที่ประชุม การแบ่งระดับผู้เกี่ยวข้องต้องศึกษาดูว่างานวิศวกรรมระบบที่ตนเองรับผิดชอบต้องการระยะในฝ้าเพดานเท่าไร โดยอาศัยข้อมูลระยะต่างๆ ที่ได้จากการประชุม (5.2) ข้างต้น เป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัดส่วนของงานวิศวกรรมระบบแต่ระบบ ผู้ประสานงานควรสั่งการให้ผู้รับเหมาจัดทำแบบขยาย (Scale 1:20) ทั้งแบบ Plan และรูปตัดในบริเวณวิกฤต (โดยเฉพาะบริเวณใต้คาน และบริเวณที่มีแนวท่อประธาน (Main) ของแต่ละระบบพาดผ่าน) หากเกิดปัญหาเนื้อที่ไม่เพียงพอจะได้หาทางหลบหลีก หรือเปลี่ยนแปลง Dimension (ท่อที่เปลี่ยนแปลง Dimension ได้ส่วนใหญ่จะเป็นท่อลม) โดยทั่วไปเราจะพยายามจัดให้ท่อประธาน (Main) ของแต่ละระบบอยู่ในระดับเดียวกัน โดยให้งานท่อลมติดตั้งระหว่างท่อ / รางของงานระบบไฟฟ้ากับท่อน้ำระบบต่างๆ แต่ถ้าไม่สามารถจัดให้อยู่ในระดับเดียวกันได้เรามักจะจัดให้แนวท่อ Raceway อยู่ด้านบนสุด โดยมีท่อลมอยู่ระดับกลาง และท่อน้ำอยู่ระดับล่างสุด การจัดแนวท่อต่างๆ ให้คำนึงถึงการแขวน Support ด้วย ทั้ง Support แขวนท่องานระบบ, Support แขวนเครื่องจักร, Support แขวนดวงโคม, หัวจ่ายและอื่นๆ, รวมทั้ง Support แขวนฝ้าเพดานด้วย อย่างไรก็ตามหากระยะเหนือฝ้าไม่เพียงพอกับการติดตั้งแนวท่อต่างๆ ทั้งๆ ที่ได้พยายามทุกวิธีแล้วอาจต้องขอให้ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมลดความสูงของฝ้าเพดานลง หรือ Drop ฝ้าบริเวณที่เกิดปัญหา แต่ต้องเป็นวิธีสุดท้าย เพราะการลดดังกล่าวอาจเกิดปัญหาเรื่องรูปแบบความสวยงามของพื้นที่การใช้สอย ซึ่งผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมมักไม่ยอมลดง่ายๆ หรือในบางกรณีอาจจะต้องปรับเปลี่ยนขนาดคานให้มีความสูงลดลง แต่ต้องทำการปรึกษาผู้ออกแบบงานโครงสร้างล่วงหน้าก่อนการก่อสร้างคานดังกล่าว หลังจากการจัดแนวท่อต่างๆ ลงตัวแล้ว ผู้ประสานงานของผู้บริหารโครงการและผู้ควบคุมงานก่อสร้างต้องสั่งการให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบแต่ละรายไปจัดทำ Shop Drawing แสดงแนวทางการติดตั้งท่อ และ/หรือ การแขวนเครื่องจักรต่างๆ ตามที่ได้สรุปลงตัวแล้ว เพื่อนำเสนอให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาเพื่ออนุมัติให้ทำการติดตั้งต่อไป การเขียนแนวท่อต่างๆ ต้องลงขนาดตาม Scale จริง และควรกำหนดตำแหน่งของ Support ด้วย จะได้ไม่เกิดการทับตำแหน่งซึ่งกันและกัน

  7. การติดตั้งงานวิศวกรรมระบบควรจัดลำดับให้งานที่อยู่บนสุดทำการติดตั้งก่อนเพื่อความสะดวกสำหรับทุกฝ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นการติดตั้งท่อร้อยสายพร้อม Junction Box
ผู้ควบคุมงานควรแนะนำให้ผู้รับเหมางานระบบไฟฟ้าขอแบบงานท่อลมจากผู้รับเหมางานระบบปรับอากาศไปประกอบการติดตั้งท่อร้อยสายของตนเองในการกำหนดตำแหน่งของ Junction Box โดยต้องไม่ติดตั้งอยู่บริเวณเหนือท่อลมโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจต้องทำการรื้อเพื่อติดตั้งใหม่เพราะไม่สามารถร้อยสายไฟฟ้าในภายหลัง เนื่องจากถูกท่อลมที่ติดตั้งในระดับที่ชิด Slab ปิดทับจนไม่สามารถมองเห็นได้
Junction Box ต้องติดตั้งให้พ้นแนวท่อลมเพื่อสามารถร้อยสายไฟฟ้าในภายหลัง

ขั้นตอนการจัดทำ Combined Drawing ดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่ข้อ (1) ถึงข้อ (7) อาจมิใช่สูตรสำเร็จในการขจัดปัญหาการขัดแย้งในการติดตั้งงานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารที่อยู่เหนือฝ้าเพดานได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็อาจเป็นแนวทางสำหรับผู้ควบคุมงานที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากนักในการจัดการเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องตลอดโครงการ

ท้ายสุดนี้ในการจัดทำ Combined Drawing ของงานระบบเหนือฝ้าเพดานมีข้อควรระวัง ดังนี้

  1. แนวทางการติดตั้งฝ้า เพดานชนิด T-bar ที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือชนิด Aluminium Strip ต้องมีทิศทางเดียวกันกับการติดตั้งโคมไฟแบบ Fluorescent เสมอ
  2. ถ้าเป็นฝ้าเพดานแบบ T-bar ไม่ควรใช้หัวจ่ายชนิด Linear Slot Diffuser แบบยาวต่อเนื่อง เพราะจะต้องตัดโครงคร่าวออกเพื่อติดตั้งหัวจ่ายดังกล่าว แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรกำหนดขนาดความยาวหัวจ่าย Linear Slot Diffuser เป็นช่วงๆ แต่ละช่วงยาวไม่เกินขนาดฝ้าเพดาน 1 แผ่น หรือไม่ควรปรึกษาผู้ออกแบบขอเปลี่ยนชนิดของหัวจ่ายจะดีกว่า
  3. การกำหนดขนาดของหัวจ่ายในแผ่นฝ้าเพดานแบบ T-bar ควรเหลือขอบฝ้าเพดานอย่างน้อย 50 มม. เผื่อไว้สำหรับปีกหัวจ่าย และ/หรือ การขัน Screw ยึดหัวจ่าย หากเหลือขอบฝ้าเพดานน้อยเกินไป เมื่อติดตั้งหัวจ่ายไปแล้ว ฝ้าเพดานมักจะแตกหัก
  4. หากมีการติดตั้งหัวจ่ายที่มีขนาดใหญ่ เช่น Return Grille ต้องปรึกษาผู้รับเหมาฝ้าเพดานเกี่ยวกับการเสริม Support และวิธีการแขวนกล่อง Plenum แบบเปิดกับ Slab และยึดหัวจ่ายกับปีก Plenum จะแข็งแรงกว่า
  5. ผู้ควบคุมงานวิศวกรรมระบบควรสั่งการให้ผู้รับเหมาทุกรายรีบเสนอวัสดุอุปกรณ์ สีสัญลักษณ์สำหรับ Support, ท่อน้ำ, ฉนวนท่อน้ำ, ฉนวนท่อลมและอื่นๆ ที่จะทำการติดตั้งงานบนฝ้าเพดานให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาและอนุมัติก่อนการสั่งซื้อ โดยเฉพาะแผ่นสังกะสี และฉนวนสำหรับงานท่อลม เพราะผู้รับเหมาต้องใช้เวลาในการ Fabricated ก่อนจึงนำไปติดตั้งได้

    สัญลักษณ์ระบุประเภทของงานไฟฟ้าบนฝา Junction Box

  6. อุปกรณ์ที่ต้องทาสีทั้งสีกันสนิม และ/หรือ สีทับหน้า Clamp (สีสัญลักษณ์) ยึด Conduit, Support ต่างๆ และอื่นๆ ผู้ควบคุมงานควรสั่งการให้ผู้รับเหมาประกอบ และทาสีจาก Workshop ให้เรียบร้อยก่อนนำมาติดตั้ง หากผู้รับเหมามาทาสีภายหลังอาจจะเลอะเทอะไม่เรียบร้อย Support ที่มิใช่วัสดุเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel) จะต้องทาสีกันสนิมทุกชนิด พร้อมทาสีทับหน้าเสมอ และควรเป็น Shade สีเดียวกันทุกระบบ
  7. เหล็กรูปพรรณที่นำมาประกอบเป็น Support ทุกชนิด เช่น เหล็กฉาก, เหล็กราง, ฯลฯ เมื่อตัดตามขนาดที่ต้องการแล้ว ควรให้เจียร์ลดคมที่มุมทุกด้านเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
  8. การใช้เหล็กรางเป็น Support ควรให้ด้านสันของเหล็กรางอยู่ในแนวตั้ง เพราะจะรับน้ำหนักได้ดีกว่า การให้ด้านสันอยู่ในแนวนอนจะไม่ต่างกันกับการใช้เหล็กฉาก

    การติดตั้งเครื่องเป่าลมเย็น (AHU) เหนือฝ้าเพดาน
    (สังเกตการติดตั้งเหล็กรางรองรับเครื่อง)


  9. การเจาะรูยึด U - Bolt ต้องใช้สว่านเจาะห้ามใช้หัวเชื่อมแก็สเป่าเป็นรูโดยเด็ดขาด
  10. ควรคำนวณใช้ขนาด Support ทั้งขนาดเหล็กรูปพรรณและขนาดเหล็กแขวน (รวมถึง Expansion Bolt) ที่เหมาะสมโดยปกติจะใช้ Safety Factor ประมาณ 3 เท่าก็พอ
  11. หาก Support ที่ใช้เป็นวัสดุเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel) หรือจำพวก Unistrut สำหรับยึด Conduit เมื่อทำการตัดเพื่อประกอบเป็น Support จะต้องทาสีกันสนิม (ประเภท Cold Galvanized) ที่รอยตัดที่ใน Workshop ทันที ไม่ควรให้ทาทับภายหลังการติดตั้งไปแล้ว
  12. Ceiling Fixtures Outlet และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน หลังจากได้รับการพิจารณาและอนุมัติทางเทคนิคแล้ว ควรให้เจ้าของโครงการหรือตัวแทน และ/หรือ ผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมพิจารณา และอนุมัติในเรื่องความสวยงามด้านรูปลักษณ์ สี และอื่นๆ ก่อนทำการสั่งซื้อ
  13. ในกรณีเป็นฝ้าเพดานเป็นแบบตะแกรง (Grid Ceiling) การติดตั้ง Sprinkler ที่เป็นแบบ Pendant จะต้องใส่แผ่น Heat Shield เพื่อใช้เป็นที่สะสมความร้อน มิฉะนั้นหากเกิดกรณีไฟไหม้กว่าหัว Sprinkler จะฉีดน้ำดับเพลิงอาจใช้เวลานานเกินไปในการสะสมความร้อน วัสดุที่ใช้ทำแผ่น Heat Shield ควรเป็นแผ่นเหล็กชุบโครเมี่ยม หรือแผ่นสเตนเลสหนา 3.0 มม. มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นิ้ว (180 มม.) แผ่น Heat Shield อาจ Fabricate โดยผู้รับเหมาเองหรือสั่งซื้อจากโรงงานผู้ผลิตหัว Sprinkler บางยี่ห้อก็ได้ ในบางบริเวณ (เช่น ห้องเครื่องจักร, ห้องเก็บของ ฯลฯ) อาจมีการยกเลิกฝ้าเพดานภายหลัง แต่ผู้รับเหมางานระบบป้องกันอัคคีภัยได้ติดตั้งท่อสำหรับหัว Sprinkler แบบ Pendant ไปแล้ว หากไม่สามารถแก้ไขให้ใช้หัว Sprinkler แบบ Upright ได้ อาจอนุโลมให้ใส่ Heat Shield ที่หัว Sprinkler แบบ Pendant ได้ แต่ควรปรึกษาสถาปนิกเพื่อสรุปในแง่ความสวยงามก่อน


  14. ควรตรวจสอบแต่เนิ่นๆ ว่า หากฝ้าเพดานเป็นแบบตะแกรง (Grid Ceiling) งานต่างๆ เหนือฝ้าเพดานต้องทำการพ่นสีให้เป็นสีเดียวกันหรือไม่? จะได้สั่งการให้ผู้รับเหมาดำเนินการทันทีหลังจากติดตั้งงานต่างๆ แล้วเสร็จ
  15. ท่อต่างๆ ที่ผ่านผนังทนไฟจะต้องติดตั้ง Sleeve หรือ Block Out และอุดด้วย Fire Barrier เสมอ
  16. การเดิน Conduit เลี้ยวตามแนวคานควรใช้ Fitting (LB) เป็นตัวต่อเชื่อม ไม่ควรใช้วิธีดัดเป็นมุม 45 องศา แบบปีกนกเพราะกินเนื้อที่ค่อนข้างมาก

    การเดิน Conduit เลี้ยวตามแนวคานควรใช้ Fitting (LB) เป็นตัวต่อเชื่อม


  17. การเจาะช่องฝ้าเพดานทุกชนิด รวมทั้งการติดตั้ง Access Panel ควรให้ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานเป็นผู้ดำเนินการแต่ผู้เดียว โดยให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบชำระค่าใช้จ่ายในอัตราที่เป็นธรรม
  18. แบบ Shop Drawing ควรมีสเกลใหญ่พอประมาณ ไม่ควรเล็กกว่า 1:100
  19. ท่อน้ำของระบบปรับอากาศ ควรมีสัญญลักษณ์ชัดเจนว่าเป็นท่อ Chilled Water Supply หรือ Return เพื่อกันการต่อท่อกลับด้านเข้าเครื่อง Air Handling Unit หรือ Fan Coil Unit เพราะกว่าจะรู้ว่าผู้รับเหมาต่อท่อผิดก็อาจจะถึงเวลาใช้งานจริง และงานฝ้าเพดานติดตั้งไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการแก้ไขจะต้องยุ่งยาก และเสียเวลาเป็นอย่างมาก

    การหุ้ม Plastic Sheet เพื่อป้องกันฝุ่นและความเสียหายก่อนติดตั้งฝ้าเพดาน


  20. ไม่ควรจัดแนวท่อลมหลักอยู่เหนือดวงโคม แบบ Fluorescent โดยเด็ดขาด เพราะจะเกิดความยุ่งยากในการจัดทำ Support ยึดดวงโคม ทางที่ดีควรจัดแนวท่อลมหลักอยู่ระหว่างดวงโคมจะดีที่สุด โดยปกติดวงโคมแต่ละดวงจะมีระยะห่างอย่างน้อย 2,000 มม. อยู่แล้ว
  21. ควรจัดแนวท่อหลักต่างๆ ให้มีแนวขนานกัน เพื่อลดจุดตัดกันให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งอาจต้อง Revise แบบของผู้ออกแบบบ้าง แต่ก็ทำให้ลดความยุ่งยากลงไปได้มาก
  22. ตำแหน่ง Access Panel ควรกำหนดไว้ข้างๆ เครื่องจักรด้านที่ต้องการทำการ Service อย่ากำหนดไว้ใต้เครื่อง เพราะจะทำงานยาก
  23. แผงกรองอากาศ (Air Filter) ของ AHU/FCU ที่ติดตั้งในฝ้าเพดานควรติดตั้งไว้บน Return Air Grille ที่เป็นแบบ Hinge Type จะดีกว่า เพราะเวลาถอด Filter จะได้ไม่ต้องเปิดฝ้าเพดานให้ยุ่งยาก
  24. ก่อนผู้รับเหมาจะปิดฝ้าเพดาน ต้องสั่งการให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคารจัดทำ As Built Drawing ก่อน โดยเฉพาะฝ้าเพดานชนิดฉาบเรียบ
  25. หากมีงานติดตั้ง Wireway เปล่าเพื่อทำการลากสายไฟฟ้าในภายหลัง (ส่วนใหญ่เป็นสาย Data) ควรจัดในแนว Wireway อยู่ในระดับล่างสุดเพื่อความสะดวก และฝาครอบรางควรให้มีขนาดไม่เกินชิ้นละ 1,200 มม. และไม่ควรมีความหนามากเกินไปจะได้ถอดได้ง่ายในภายหลัง

    ฝาครอบราง Wireway ไม่ควรใช้ขนาดยาว
    2,400 มม. เพราะถอดยาก ควรใช้ความยาวไม่เกิน 1,200 มม.


  26. ห้อง Control ที่มีการติดตั้ง Wireway จากในฝ้าเพดานลงมาเชื่อมกับตู้ไฟฟ้า ตำแหน่งของ Wireway ที่ผ่านฝ้าเพดานควรใช้ฝาปิดที่มีความยาวน้อยๆ (ประมาณ 300 มม.) ปิดรางแบบถาวรไปเลย จะไม่ต้องยุ่งกับงานฝ้าเพดานในภายหลังที่ต้องเปิดฝาราง Wireway ดังกล่าว และไม่ควรให้ด้านหลังของ Wireway แนบกับผนังหรือเสา โดยให้ห่างประมาณ 50-100 มม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งโครงคร่าวรับแผ่นฝ้าเพดานที่ผ่านด้านหลังของ Wireway ได้โดยไม่ต้องตัดทิ้ง
  27. กรณีที่มีท่อน้ำ (อาจเป็นท่อน้ำดับเพลิงหรือท่อน้ำเย็นสำหรับงานปรับอากาศ) โผล่ลงมาใต้ฝ้า ควรเว้นระยะระหว่างท่อกับผนังหรือเสาไม่น้อยกว่า 100 มม. เพื่อให้ผู้รับเหมางานฝ้าเพดานทำการปิดแผ่นฝ้าเพดานบริเวณหลังท่อน้ำได้โดยง่าย และควรสั่งการให้ผู้รับเหมาตัดแผ่นยางประเก็นเป็นวงแหวนปิดรอบท่อกับแผ่นฝ้าจะดูเรียบร้อยขึ้น
  28. ห้องที่ใช้ฝ้าเพดานแบบ T-bar มักจะไม่มีการติดตั้ง Access Panel เพื่อขึ้นไป Service อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในฝ้าเพดาน โดยจะใช้วิธีดันแผ่นฝ้าเพดานแทน ผู้ควบคุมงานควรสั่งการให้ผู้รับเหมางานวิศวกรรมระบบหาเข็มหมุดที่มีหัวสีขนาดเล็กๆ ปักไว้ที่มุมแผ่นฝ้าเพดานที่ต้องการเปิดเพื่อใช้ช่าง Service สังเกตเห็นได้ง่าย จะได้ไม่เปิดแผ่นฝ้าเพดานผิดหากต้องการทำการ Service ในภายหลัง
  29. ควรกำหนดให้ผู้รับเหมาทุกรายที่เกี่ยวข้องในบริเวณเดียวกันทำการติดตั้งงานของตนเองตามลำดับก่อนหลังในคาบเวลาที่ต่อเนื่องกัน โดยใช้นั่งร้านชุดเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการตั้งนั่งร้าน ทั้งนี้ การติดตั้ง Ceiling Fixtures Outlet ให้แล้วเสร็จเป็นงานสุดท้ายก่อนงานตกแต่งพื้น เพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด
หมายเหตุ :

ในกรณีที่บางบริเวณที่กำหนดไว้ว่าไม่มีการติดตั้งงานฝ้าเพดาน โดยที่ให้งานวิศวกรรมระบบต่างๆ ติดตั้งแบบเดินลอย (Exposed) การจัดทำ Combined Drawing ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการ Service ภายหลัง ซึ่งขั้นตอนและหลักการในการจัดทำ Combined Drawing ให้เป็นไปตามที่กล่าวข้างต้นทุกประการ ยกเว้นจะไม่มีงานฝ้าเพดานมาเกี่ยวข้องด้วย